Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6504
Title: การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : ศึกษากรณีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
Other Titles: Operation evaluation of the provident fund : a case study of provincial electricity authority.
Authors: จีระ ประทีป
มนัสนันท์ ปัญญาสุภารัตน์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เสน่ห์ จุ้ยโต
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ--การบริหาร
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ--การประเมิน
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการดำเนินงาน กสช.กฟภ. ในด้านการเงิน ด้านผู้รับบริการ ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนเและพัฒนา (2) ศึกษาปัญหาการดำเนินงาน กสช.กฟภ. (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินงาน กสช.กฟภ. การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงาน ระเบียบข้อบังคับ และจากการสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์สรุปและวิเคราะห์เปรียบเทียบ การวิจัยเชิงปริมาณศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 365 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแบบประเมินดุลยภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) ด้านการเงินผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดี ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายเฉลี่ยร้อยละ?.38 ต่อปี สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงิน ด้านผู้รับบริการมีความพึงพอใจในผลการดำเนินงานในระดับปานกลาง ด้านกระบวนการภายในผลการดำเนินงานเป็นไปตามขอบเขตโครงสร้างที่กำหนดด้านการเรียนและพัฒนา ต้องพัฒนาระบบโปรแกรมทะเบียนสมาชิกให้เหมาะสมเพื่อรองรับกับปริมาณงาน (2) ปัญหาจากผลการดำเนินงาน คือ ด้านการเงิน ในบางปีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ด้านผู้รับบริการ สมาชิกยังไม่พอใจในผลตอบแทนของกองทุนเท่าที่ควร ด้านกระบวนการภายใน จำนวนบุคลากรในการปฏิบัติงานมีไม่เพียงพอ ด้านการเรียนรู้และพัฒนา ระบบโปรแกรมที่ใช้งานรองรับกับความต้องการของงานไม่เต็มที่(3) ข้อเสนอแนะด้านการเงินควรมีการประชุมหารือกับบริษัทจัดการสมํ่าเสมอเพื่อหานโยบายการลงทุนที่เหมาะสม ด้านผู้รับบริการ คณะกรรมการต้องบริหารการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเดิมเพื่อให้สมาชิกมีความมั่นใจในกองทุน ด้านกระบวนการภายใน ควรเพิ่มอัตรากำลังให้เพียงพอกับปริมาณงาน ด้านการเรียนรู้และพัฒนา กองทุนควรเร่งจัดทำระบบทะเบียนสมาชิกเองทั้งหมดเพื่อความสะดวกรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายของกองทุน และควรให้มีการวิจัยประเมินผลการดำเนินงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอิ่นๆ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6504
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118992.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.27 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons