Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6506
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Factors affecting the good governance activity : a case study of sub-district administration organization in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
Authors: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายลม ปิ่นรัตน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
การบริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: กระทรวงมหาดไทยได้ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยิดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ ในการปฏิบัติงาน โดยมีการนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้เป็นเกณฑ์การประเมินขององค์การบริหารส่วนตำบลประจำปีด้วย แต่พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลหลายแห่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินดังกล่าว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติได้ประสบ ความสำเร็จมากขึ้น การวิจัยครั้งนั้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ (3) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด ในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบลในเขดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (4) เสนอแนะแนวทางในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์โดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่างข้าราชการสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวนทั้งสิ้น 285 คน สัมภาษณ์นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนทั้งสิ้น 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การทดสอบค่าเอฟ และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ การสัมภาษณ์โดยใช้กรอบของ SWOT ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 จำนวน 2 คู่ คือองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กและองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางและองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ โดยพบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กและขนาดกลางมีค่าเฉลี่ยระดับความสำเร็จสูงกว่าองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ (2) ปัจจัยด้านกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมในการทำงาน ปัจจัยด้านการจูงใจและปัจจัยด้านสมรรถนะ มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในองค์การบริหารส่วนตำบลเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 (3) จุดแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลคือ การมีงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์อย่างเพียงพอ มีอิสระในการบริหารงาน จุดอ่อนคือมีความขัดแย้ง ขาดความสามัคคีภายในหน่วยงาน โอกาสคือมีหน่วยงานระดับเหนือขึ้นไปที่ให้ความสำคัญและให้คำปรึกษาได้ดี อุปสรรค คือมีการ เปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลหรือผู้บริหารบ่อย และขาดความร่วมมือจากชุมชน (4) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยได้แก่ 1) ผู้บริหารควรประยุกค์ใช้เครื่องมือหรือเทคนิคทางการบริหารต่างๆ เช่นการสร้างภาวะผู้นำต้นแบบ การจัดทำประมวลจริยธรรม 2) ควรมีระบบการสร้างขวัญกำลังใจแก่พนักงานที่ปฏิบัติงานดีเด่น การประกาศเกียรติคุณ รางวัลพนักงานดีเด่น 3) ควรมีการนำระบบสมรรถนะเข้ามาใช้ในการประเมินความดีความชอบ และส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองเช่น E – learning
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6506
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
110374.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.92 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons