กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6514
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการของสถานีตำรวจภูธรตันหยง อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | People participation in management administration of the Tanyong Provincial Police Station, Muang District, Naratiwat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิรัช วิรัชนิภาวรรณ สุนันท์ สมบูรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิรินทร์ ธูปกลํ่า |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ สถานีตำรวจภูธรตันหยง--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการของสถานีตำรวจภูธรตันหยง (2) แนวทางการปรับปรุงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการของสถานีตำรวจภูธรตันหยง และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้การปรับปรุงดังกล่าวประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้ได้นำ แพ็มส์-โพสคอร์บ มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลสนาม แบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบ รวมทั้งผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ที่ระดับ 0.93 สำหรับกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการตำรวจและประชาชนในเขตพื้นที่ของสถานีตำรวจภูธรตันหยง และประชาชนในเขตพื้นที่ของสถานีตำรวจภูธรตันหยงรวม 1,150 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่าง วันที่ 15 สิงหาคม 2551 ถึง วันที่ 14 กันยายน 2551 ได้แบบสอบถามกลับคืนมา 1,017 ชุด คิดเป็นรัอยละ 88.43 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ข้อมูลจากแบบสอบถามได้ถูกนำมาประมวลและวิเคราะห์ด้วยสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาที่สำคัญคือ สถานีตำรวจภูธรตันหยงขาดการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสำหรับการบริหารจัดการของสถานีตำรวจภูธรตันหยงด้านต่าง ๆ เช่น การรักษาความสงบเรียบรัอย และความปลอดภัยของประชาชน (2) แนวทางปรับปรุงที่สำคัญ คือ ผู้บริหารของสถานีตำรวจภูธรตันหยงควรให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามานมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสำหรับการบริหารจัดการของสถานีตำรวธภูธรตันหยงเพิ่มมากขึ้น เช่น เปิดโอกาสให้ผู้นำท้องถิ่นหรือองค์การบริหารส่วนตำบลเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน และ (3) ปัจจัยทีมีส่วนสำคัญทำให้การปรับปรุงการมีส่วนร่วมของประชาชนประสบผลสำเร็จ ที่สำคัญคือ การควบคุมดูแลเรื่องการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและการประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหารของสถานีตำรวจตันหยงรวมทั้งการปฏิบัติงาน สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างจริงจังและต่อเนื่องของบุคคลากรของสถานีตำรวจภูธรตันหยง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6514 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
110376.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License