กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6516
ชื่อเรื่อง: | ความพึงพอใจของผู้ปกครองและความต้องการของผู้ปกครองและชุมชนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามฝันแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Satisfaction of parents and the needs of parents and communities for educational management of Tamfan Mae Chai School, Mae Chai District, Phayao Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เก็จกนก เอื้อวงศ์ คำนึง แซ่ซื้อ, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การจัดการศึกษา--ไทย--พะเยา การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครอง และ (2) ศึกษาความต้องการของผู้ปกครอง และชุมชนต่อการจัดการการศึกษาของโรงเรียน ตามฝันแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาของ โรงเรียนตามฝันแม่ใจ จำนวน 18 คน และ (2) ผู้นำชุมชน และประชาชนในหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอ แม่ใจ จังหวัดพะเยา จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ (1) ผู้ปกครองพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามฝันแม่ใจ โดยพึงพอใจต่อผู้บริหารโรงเรียน ต่อคุณภาพนักเรียน ต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอน ต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน และต่อการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน อย่างไรก็ตามผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังไม่ พึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของครู และ (2) ความต้องการของผู้ปกครองและชุมชนต่อการจัดการการศึกษา โดยภาพรวมมีความต้องการให้โรงเรียนดำเนินการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (2.1) ความต้องการในด้านคุณภาพนักเรียน โดยต้องการให้พัฒนานักเรียนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ทักษะด้านการพูดภาษาอังกฤษ และเน้นวิชาหลักที่จะใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัย รวมทั้งการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียน ด้านกริยามารยาท ความมีวินัย และความรักและความภูมิใจในท้องถิ่น และ (2.2) ด้านครู ต้องการให้ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน นำความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ มาสอนนักเรียน พัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง ให้ความเสมอภาคและความยุติธรรม อุทิศเวลา และให้ความรัก ความเมตตาต่อนักเรียน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6516 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161971.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License