กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6517
ชื่อเรื่อง: คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Quality of work life of university staff of Ubonratchathanee University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
วาสนา สะอาด, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี -- พนักงาน
คุณภาพชีวิตการทำงาน -- ไทย -- อุบลราชธานี
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสาย สนับสนุนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสาย สนับสนุนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (3) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 549 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรคำนวณทาโร่ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 226 คน โดย สุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือทึ่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยถะ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ แบบขั้นตอน การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ ผลการวิจัย พบว่า (1) ) คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก (2) การศึกษาระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการรทำงานในภาพรวมระดับมาก ซึ่งตัวแปรอิสระความสัมพันธ์ 5 ตัวแปร ได้แก่ ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน การได้รับความสำเร็จในการทำงาน สถานภาพ/ลักษณะ การทำงาน การทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และเงินเดือนค่าตอบแทน (3) การ เปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในประเภทเงินงบประมาณ และพนักงานเงินรายได้ไม่แตกต่างกัน (4) ปัญหา อุปสรรคที่พบส่วนใหญ่เป็นด้านทัศนคติก่อการ ทำงาน และด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาโดย ให้ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายเพื่อการให้ความสำคัญในเรื่องพนักงานสายสนับสนุนุให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6517
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118997.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons