กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/651
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมจากการใช้ที่ดินของชาวนา : กรณีศึกษาการใช้ที่ดินของชาวนาหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5 ในตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of the social and cultural impact on farmers' land usage : a case study of farmers' land use in the Moo 4 and Moo 5 Lantafar Sub-district, Nakhon Chaisri District, Nakhon Parthom Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุดจิต เจนนพกาญจน์ ผุสดี สัมฤทธิ์วงศ์, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จิตรา วีรบุรีนนท์ ไพฑูรย์ มีกุศล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การใช้ที่ดิน--ผลกระทบต่อสังคม การใช้ที่ดิน--ผลกระทบต่อวัฒนธรรม ชาวนา--ไทย--นครปฐม การใช้ที่ดิน--ไทย--นครปฐม |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพึ่อศึกษา (1) แบบแผนการถือครองที่ดินของชาวนา (2) สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ที่ดิน (3) วิธีการดำเนินชีวิตของชาวนาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ พ.ศ. 2530 - 2551 และ (4) ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้ที่ดินของชาวนา ในหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5 ตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้รู้ ผู้อาวุโสในชุมชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 14 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ คือ กลุ่มของชาวนาที่ใช้ที่ดิน ได้แก่ การขายที่ดิน การให้เช่าที่ดิน การจำนองที่ดิน หรือเช่าที่ดินจากนายทุนจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสำรวจชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละผลการวิจัยพบว่า (1) แบบแผนการถือครองที่ดินมี 4 แบบ ได้แก่ 1) มรดกตกทอด 2) การซื้อขาด 3) การเช่าก่อนและชื้อในภายหลัง 4) การเช่า แต่ส่วนใหญ่เป็นมรดกตกทอด (2) สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน มีหลายกรณี ได้แก่ การขาย การให้เช่า การเช่าจากนายทุน และการจำนอง (3) วิถีการดำเนินชีวิตของชาวนามีการเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ พ.ศ. 2530 - 2551 โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เช่น สภาพบ้านเรือน สมัยก่อนเป็นบ้านไม้ยกพื้นสูงมุงด้วยจากหลังคาสูง ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นบ้านปูนหรือครึ่งไม้ครึ่งปูน การแต่งกายในการทำนา สมัยก่อนผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุงและไม่สวมรองเท้า ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นนุ่งกางเกงและสวมรองเท้าผ้าสูงถึงเข่าทั้งชายเเละหญิงส่วนงานทั่วไปก็เเต่งกายตามสมัยนิยม การประกอบอาชีพจากการทำนาและทำสวนปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการขายแรงงานตามโรงงาน การค้าขาย อาหารการกินสมัยก่อนทำอาหารทั้งคาวเเละหวานรับประทานในครอบครัวแต่ปัจจุบันนิยมซื้อกับข้าวตามตลาดนัดหรึอตามร้านสะดวกซื้อที่มีมากในหมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น (4) ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดจากการใช้ที่ดินของชาวนา ทำให้พื้นที่ทำนาในปัจจุบันตกเป็นของนายทุนจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อม บ้านจัดสรร และห้องเช่า เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก มีการขายแรงงานตามโรงงานของคนงานหนุ่มสาวในชุมชนและนอกชุมชน ระบบความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและชุมชนมีน้อยลง ตลอดจนการประกอบพิธีกรรมขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่าง เช่น การโกนผมไฟ การไหว้ในเทศกาลตรุษจีน สารทจีน การเเต่งงานการบวชมีน้อยลง และส่วนที่เลือนหายไป เช่น ประเพณีเกี่ยวกับการทำนา การทำขวัญข้าว เมื่ออาชีพการทำนาลดน้อยลง จึงทำให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ ขึ้น เช่น อาชีพรับจ้างโดยเฉพาะการขายแรงงานตามโรงงาน อาชีพบริการและการค้าขาย ซึ่งเป็นอาชีพที่มีแนวโน้มที่จะมีผู้ประกอบอาชีพเหล่านี้มากขึ้นในอนาคต |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/651 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (1).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License