Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6528
Title: คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)
Other Titles: Service quality as expected and perceived by students of Mahidol Wittayanusorn School (Public Organization)
Authors: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุมิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิรนันท์ เกรียงธีรศักดิ์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) -- นักเรียน
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
บริการของโรงเรียน
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพบริการตามความคาดหวัง และคุณภาพ บริการตามการรับรู้ของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) (2) เปรียบเทียบคุณภาพ บริการตาม ความคาดหวังกับคุณภาพบริการตามการรับรู้ของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) และ (3) เปรียบเทียบคุณภาพบริการตามความคาดหวังกันคุณภาพบริการตามการรับรู้ ของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ใน ชั้นมัธยมศึกษาปืที่ 4-6 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 724 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรการ คำนวณของ ทาโร่ยามาเน่ และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 300 คน และกระจายการเก็บข้อมูลทุกห้อง ห้องละ 10 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลข คณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การแจกแจงแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพบริการตามความคาดหวังและคุณภาพบริการตามการรับรู้ของ นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียน คาดหวังมากที่สุดในด้านความมั่นใจในสมรรถนะของบุคลากร และมีการรับรู้มากที่สุดในด้านความ เข้าใจและความเห็นอกเห็นใจ (2) คุณภาพบริการตามความคาดหวังกับคุณภาพบริการตามการรับรู้ของ นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) ทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจเท่านั้นที่ไม่แตกต่างกัน โดยมีระดับความคาดหวังสูงกว่าการรับรู้ทุกด้าน ดังนั้นนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) จึงไม่พึง พอใจต่อบริการที่ได้รับ และ (3) นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) ที่มีระดับชั้น และคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อคุณภาพบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ส่วนนักเรียนที่มีเพศแตกต่างกันมีการรับรู้ต่อคุณภาพบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6528
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
119050.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.43 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons