กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6534
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่าสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) กรมป่าไม้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the motivation to protect the forest of forest offices in forest resource management Bureau 6, Udon Thani Royal Forest Department
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุทธพงษ์ ปัญญาใส, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี)
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แรงจูงใจในการป้องกันรักษาป่าของ บุคลากรสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) (2) ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการป้องกัน รักษาป่าของบุคลากรสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) (3) ข้อเสนอแนะแนวทางสร้าง เสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่าของบุคลากรสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) ประกอบด้วยข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการสังกัดสำนักจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) จำนวน 214 คน เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.853 สถิติที่ใซ้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจในการป้องกันรักษาป่า ในระดับมาก โดยด้านความกระตือรือร้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านความพยายาม มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด (2) ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการป้องกันรักษาป่า ในระดับมาก โดยด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงานและด้านการได้รับการยอมรับนับถือ มีค่าเฉลี่ย สูงสุดเท่ากัน และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (3) การวิเคราะห์ความถดถอย พหุคูณแบบขั้นตอนของแรงจูงใจในการป้องกันรักษาป่า พบว่าในภาพรวมด้านความสำเร็จไนการ ปฏิบัติงานมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่ามากที่สุด รองลงมาคือด้านการได้รับ การยอมรับนับถือ และด้านความรับผิดชอบ ตามลำดับ (4) ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การมีส่วนในการ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ขาดวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการปฏิบัติงาน ค่าตอบแทนน้อยเมื่อเทียบกับ ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน จึงควรเพิ่มค่าตอบแทน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6534
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119068.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons