กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6541
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรของบริษัทไทยเบฟเวอร์เรจมาร์เก็ตติ้ง : กรณีศึกษาเขตการขายที่ 6
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Internal organizational communication format, of Thai Beverage Marketing Public Company Limited : a case study of the 6th sale area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชาว์ โรจน์แสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอนก รัตนงาม, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
บริษัทไทยเบฟเวอร์เรจมาร์เก็ตติ้ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
การสื่อสารในองค์การ.
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กร บริษัท ไทย เบฟเวอเรจมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กรณีศึกษาเขตการขายที่ 6 (2) เปรียบเทียบรูปแบบการสื่อสารจำแนกตาม ลักษณะประชากร (3) วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพภายในองค์กร และ (4) ปัญหาอุปสรรคการสื่อสาร ภายในองค์กร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรได้แก่ พนักงานบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด เขตการขาย ที่ 6 ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม และ มุกดาหาร จำนวน 659 คน การสุ่มตัวอย่างตามชั้นภูมิกำหนดตัวอย่างโดยใช้ทาโรยามาเน ที่ระดับความ เชื่อมั่น 95% ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.938 สถิติ ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และเอฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรมีทั้ง การสื่อสารจากบนลงล่างที่สามารถ สร้างการรับรู้ บทบาทหน้าที่ได้ชัดเจน การสื่อสารจากล่างขึ้นบนมีการเปิดโอกาสสื่อสาร เพื่อรับข้อมูล สะท้อนกลับ การสื่อสารในแนวนอนลดความขัดแย้งโดยรูปแบบการสื่อสารจากล่างขึ้นบนจะมีน้อยกว่า รูปแบบอื่น (2) การศึกษาลักษณะประชากรในด้าน เพศ การศึกษา ตำแหน่งงาน และอายุที่ส่งผลกระทบ ต่อความแตกต่างในการรับรู้ พบว่า พนักงานที่มีอายุแตกต่างกันมีการรับรู้ในรูปแบบการสื่อสารที่แตกต่าง กัน ส่วนพนักงานที่มี เพศ การศึกษา ตำแหน่งงานแตกต่างกัน พบว่ามีการรับรู้ในรูปแบบการสื่อสารที่ไม่ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (3) วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุดขององค์กร คือ การ สื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษรรองลงมา คือ การสื่อสารด้วยวาจามีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนการปฏิบัติ มีการจัดการประชุมเปิดโอกาสให้สอบถามปัญหา ได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ และ (4) อุปสรรค ปัญหาที่ พบมากที่สุด คือความชัดเจนของการติดต่อสื่อสารด้วยวาจา รองลงมาคือ ปัญหา ปริมาณการติดต่อสื่อสาร ด้วยลายลักษณ์อักษร ข้อเสนอแนะการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับควรเพิ่มความรู้ เสริม แรงจูงใจด้วยการรับฟัง และสนองตอบด้วยความจริงใจ อย่างยุติรรม เพิ่มช่องทางการสื่อสารจากล่างขึ้น บน และในการสื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษรควรประกอบกับการสื่อสารด้วยวาจาเพื่อเพิ่มความชัดเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6541
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
120927.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons