Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6543
Title: การใช้การจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบลีนในอุตสาหกรรมไทย : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: The usage of lean supply chain management in Thai industry : a case study of electrical, electronics products and automotive products manufactory in Bangkok Metropolis and its vicinity
Authors: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุชัย รามวรังกูร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาวรรณ จุรกรรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
การผลิตแบบลีน
อุตสาหกรรม--ไทย
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นในการนำเครื่องมือหรือวิธีการแบบลีน มาใช้ประโยชน์ และปัญหาหรืออุปสรรคในการใช้ห่วงโซ่อุปทานแบบลีน ของอุตสาหกรรมไทยเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสถานประกอบการกับ การใช้การจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบลีนในอุตสาหกรรมไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหารของสถานประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1,168 แห่งทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้จำนวน 298 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ มีระดับความคิดเห็นต่อการนำเครื่องมือหรือวิธีการแบบลีนมาใช้อยู่ในระดับปานกลาง เครื่องมือหรือวิธีการแบบลีนที่นำมาใช้ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การใช้มาตรฐาน ISO รองลงมาคือ กิจกรรม 5 ส โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูป GPS และRI-ID อยู่ในระดับน้อยที่สุด ในขณะที่มีระดับความ คิดเห็นต่อประโยชน์ที่ได้รับและปัญหาหรืออุปสรรคในการนำการจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบลีนมาใช้อยู่ใน ระดับมากทั้งสองด้าน เมื่อพิจารณาด้านประโยชน์ที่ได้รับ พบว่า การจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบลีนช่วยลด ขั้นตอนการทำงานมากที่สุด รองลงมาคือการลดเวลาของกระบวนการทำงาน และมีความคิดเห็นต่อประโยชน์ ด้านผลิตภัณฑ์ไม่ล้าสมัยเนื่องจากได้รับการปรับปรุงตลอดเวลาน้อยที่สุด ส่วนระดับความคิดเห็นด้านปัญหาหรืออุปสรรค พบว่า มีปัญหาหรืออุปสรรคด้านการสนับสนุนจากหัวหน้าของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงมากที่สุด รองลงมาคือการใช้เครื่องมือหรือวิธีการแบบลีนบางวิธี ในช่วงแรกต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจึงทำให้ไม่ได้รับความสนใจนำมาใช้อย่างเต็มที่และมีความคิดเห็นต่อปัญหาหรืออุปสรรคด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทำให้องค์การปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงน้อยทีสุด (2) ปัจจัยด้านสถานประกอบการโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับสภาวะการใช้การจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบลีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นปัจจัยด้านระดับการศึกษาของผู้บริหาร และระยะเวลาการดำเนินธุรกิจเท่านั้นที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6543
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
112130.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons