Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/654
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพาณี สีตกะลิน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorขนิษฐา วัฒนจินดาเลิศ, 2508--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-17T03:39:20Z-
dc.date.available2022-08-17T03:39:20Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/654-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย คุณลักษณะประชากร ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และกระบวนการบริหารงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง (2) การบริหารจัดการสถานีอนามัย (3) ผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การบริหารจัดการสถานีอนามัยกับผลการดำเนินงาน และ (5) ปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงของสถานีอนามัย ในจังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ 2550 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงของสถานีอนามัย จํานวน 174 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าความเพียง 0.93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้รับผิดชอบงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 38 ปีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 8.8 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในระดับปานกลาง และมีการทำงานตามกระบวนการบริหารงานอยู่ในระดับสูงมากที่สุด (2) สถานีอนามัย มีหมู่บ้านในความรับผิดชอบเฉลี่ย 6 หมู่ จำนวนประชากรในความรับผิดชอบ 4,102 คน มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำเฉลี่ย 3 คน (3) ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน คือ การทํางานตามกระบวนการบริหารงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ได้แก่ การวางแผน การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ และการควบคุมงาน ยกเว้นด้านการจัดองค์การ และ (5) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่พบ ได้แก่ จำนวนบุคลากร ไม่เพียงพอ สื่อสุขศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนมีความล่าช้าหรือไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ผู้รับผิดชอบงานมีการใช้กระบวนการบริหารงานในการทำงาน และให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบงานมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectความดันเลือดสูง--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงของสถานีอนามัย ในจังหวัดสุพรรณบุรีth_TH
dc.title.alternativeFactors associated with the hypertension prevention and control of health centers in Suphan Buri Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe main purposes of this descriptive research were to study (1) the personal factors of health staff who are responsible for hypertension prevention and control in health centers, that are composed of personal characteristics, knowledge regard hypertension, and managerial process of hypertension prevention and control; (2) health center management; (3) result of hypertension prevention and control performance; (4) relationship between personal factors, health center management, and result of hypertension prevention and control performance, and (5) problems and obstacles in practicing hypertension prevention and control in Suphanburi province. A total number of 174 health personnels who are responsible for hypertension prevention and control in health centers were recruited as the population in this study. The self-administered questionnaire with its reliability of 0.93 was used as a research tool. Descriptive statistics and Chi-square test were conducted in this study. The result revealed that (1) the majority of the respondents were female, with 38 years of age on average, having bachelor’s degree, and having 9 years on average of work experience. Their hypertension knowledge and managerial process were at a moderate and highest levels respectively. (2) each health center, on average, was responsible for 6 villages; with population of 4,102, and 3 health staff were in charge. (3) result of hypertension prevention and control performance was at a moderate level. (4) factor associated with performance was managerial process in hypertension prevention and control i.e. planning, personnel management, facilitation, and job monitoring, excluding organizational management. (5) the problems and obstacles found in this study were insufficient number of staff and insufficient support, or delay of health education medias. This study suggested that executives should support health staff to perform their job based on managerial process, and to pinpoint knowledge and skills relevant to their job in order to increase their effective performanceen_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108774.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons