Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6564
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนริศรา ม่วงทิม, 2528-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-06-20T08:01:36Z-
dc.date.available2023-06-20T08:01:36Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6564-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีต่อส่วนประสมการตลาดของพ่อค้าคนกลางในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และ (2) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดตามความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขต อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลกกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน ทั้งสิ้น 340 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์มากกว่า 20 ปี ขึ้นไป นิยมปลูกทั้ง 2 ฤดูกาล ถิ่นฐานของผู้เพาะปลูกส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตำบลบ่อภาคนาข้าวโพดไปขายเองที่ร้านรับซื้อผลผลิต โดยจำนวนผลผลิตที่ได้ไม่เกิน 8 ตันต่อ ฤดูกาล (1) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมการตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากรองลงมาคือ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ (2) เมื่อเปรียบเทียบระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดตามความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันพบว่า กลุ่มตัวอยางที่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ฤดูกาลเพาะปลูก ถิ่นฐานของผู้เพาะปลูก ลักษณะการขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ผ่านมา และจำนวนผลผลิตที่ผลิตได้ในแต่ละครั้งโดยเฉลี่ย ที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับส่วนประสมการตลาดในระดับที่ไม่แตกต่างกันทุกด้านยกเว้นด้านการส่งเสริมการตลาดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.titleความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อส่วนประสมการตลาดของพ่อค้าคนกลางข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลกth_TH
dc.title.alternativeOpinion of maize for animal feed agriculturists towards marketing mix factors of middlemen in Chattrakan District, Phitsanulok Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.grantorสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed (1) to study the opinion of agriculturists who grow maize for animal feed towards marketing mix factors of middlemen in Chattrakan District, Phitsanulok Province; and (2) to examine the importance level of marketing mix factors by the opinion of maize for animal feed agriculturists in Chattrakan District, Phitsanulok Province classified by demographic characteristics. This study used survey research to address these aims. In total, the population was agriculturists who grow maize for animal feed in Chattrakan District, Phitsanulok Province. Applying the Taro Yamane Formula yielded a total sample size of 340 agriculturists and proportionate stratified random sampling method was adopted with the research. Questionnaires were used as a tool for data collection and statistics used for data analysis including percentage, mean and standard deviation. The findings of the study indicated that most of the agriculturists had experiences in growing maize for animal feed over twenty years in both two growing seasons. They lived in Tambol Borphak and sold their products at shops by themselves for the total amount of less than 8 tons. Furthermore, the result revealed that; (1) the opinion of maize for animal feed agriculturists towards the overall of marketing mix factors was at medium level, ordered as follows; product considered at high level, price, distribution and promotion; and (2) Furthermore, a comparison of an significant level of marketing mix factors by the opinion of maize for animal feed agriculturists in Chattrakan District, Phitsanulok Province, classified by demographic characteristics, was found no difference at a statistically significant level in according with agriculturists who had experiences in growing maize for animal feed, planting seasons, abode of agriculturists, previous sales characteristics of maize for animal feed, and average product amount each time, except promotionen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_137213.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons