Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6564
Title: ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อส่วนประสมการตลาดของพ่อค้าคนกลางข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Opinion of maize for animal feed agriculturists towards marketing mix factors of middlemen in Chattrakan District, Phitsanulok Province
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นริศรา ม่วงทิม, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีต่อส่วนประสมการตลาดของพ่อค้าคนกลางในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และ (2) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดตามความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขต อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลกกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน ทั้งสิ้น 340 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์มากกว่า 20 ปี ขึ้นไป นิยมปลูกทั้ง 2 ฤดูกาล ถิ่นฐานของผู้เพาะปลูกส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตำบลบ่อภาคนาข้าวโพดไปขายเองที่ร้านรับซื้อผลผลิต โดยจำนวนผลผลิตที่ได้ไม่เกิน 8 ตันต่อ ฤดูกาล (1) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมการตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากรองลงมาคือ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ (2) เมื่อเปรียบเทียบระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดตามความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันพบว่า กลุ่มตัวอยางที่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ฤดูกาลเพาะปลูก ถิ่นฐานของผู้เพาะปลูก ลักษณะการขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ผ่านมา และจำนวนผลผลิตที่ผลิตได้ในแต่ละครั้งโดยเฉลี่ย ที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับส่วนประสมการตลาดในระดับที่ไม่แตกต่างกันทุกด้านยกเว้นด้านการส่งเสริมการตลาด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6564
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_137213.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons