กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6571
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้า และบริการร้านค้าสมัยใหม่ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumer's behavior in products and services buying from modern trade in Hatyai District, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
พนิดา นาคะสุวรรณ์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
พฤติกรรมผู้บริโภค
การซื้อสินค้า
การเลือกซื้อสินค้า
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการซื้อสินค้า และบริการร้านค้าสมัยใหม่ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้า และบริการร้านค้าสมัยใหม่ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กับพฤติกรรมการซื้อสินค้า และบริการร้านค้าสมัยใหม่ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าสมัยใหม่ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 100 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.855 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่เฉลี่ย ค่าเบื่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ กับตัวแปรตาม ด้วยการทดสอบด้วยค่าไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ไปซื้อสินค้าที่ร้านค้าสมัยใหม่ 1-2 ครั้ง/เดือนโดยมีผู้ใช้บริการเป็นบางครั้งมากที่สุด คือ เทสโก้ โลตัส มีจำนวนร้อยละ 85.0 และใช้บริการเป็นประจำที่คาร์ฟูร์ มีจำนวนร้อยละ 27.0 ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีคำใช้ง่ายในแต่ละครั้ง 501-1,000 บาท ช่วงเวลาที่ผู้บริโภคใช้บริการบ่อยที่สุดคือ ช่วงเวลา 16.01-19.00 น. และนิยมไปซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเบ็คเตล็ด เสื้อผ้า สินค้าอุปโภคบริโภคและอาหารสด ที่บิ๊กซี และสื่อที่ทำให้เป็นที่รู้จัก คือ โทรทัศน์วิทยุ (2) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้า และบริการร้านค้าสมัยใหม่ ได้แก่ ปังจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพครอบครัว และอาชีพ ในด้านจำนวนเงินที่ซื้อสินค้าในแต่ละครั้ง และปัจจัยด้านรายได้ต่อเดือน ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านความถี่ในการซื้อสินค้า และจำนวนเงินที่ซื้อสินค้าในแต่ละครั้ง (3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดไม่มีความสัมพันธ์กับการซื้อสินค้า ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6571
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_139531.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons