Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/658
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทิ้งขยะลงถังของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลในจังหวัดยโสธร
Other Titles: Factors associated with people's behavior in garbage disposal into bins in sub-district Municipalities of Yasothon Province
Authors: อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมโภช รติโอฬาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
คำนัย บุตรจันทร์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การกำจัดขยะ
ขยะ--การจัดการ
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะลงถังของประชาชน (2) ศึกษาปัจจัยทางด้านบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยทางด้านการรับรู้ทัศนคติของประชาชน (4) ศึกษาปัจจัยด้านการบริหารจัดการของเทศบาล และ (5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล การรับรู้ทัศนคติของประชาชน การบริหารจัดการของเทศบาลกับพฤติกรรมการทิ้งขยะลงถังของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบล และเทศบาลตำบล 3 แห่งในจังหวัดยโสธร โดยสุ่มตัวอย่างประชาชนโดยบังเอิญตามกลุ่มที่กำหนด จำนวนรวม 400 คน และสุ่มจากเทศบาล 3 แห่ง โดยการจับฉลากจากกลุ่มเทศบาล 3 ระดับ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ประชาชนทั่วไป และแบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญของเทศบาล แบบสัมภาษณ์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 และ .89 สำหรับแบบสัมภาษณ์ประชาชนทั่วไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนมีพฤติกรรมการทิ้งขยะลงถังร้อยละ 80.75 (2) ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบ ปัจจัยด้านเพศ เป็น เพศชาย ร้อยละ 43.5 เพศหญิง ร้อยละ 56.5 มีอายุ เฉลี่ย 32.87 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 13.36 ระดับการศึกษา ส่วนมาก (ร้อยละ 81.3) ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีอาชีพแยกเป็นไม่ได้ประกอบอาชีพ (ร้อยละ 7) รับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 18) รับจ้าง (ร้อยละ 22) เกษตรกร (ร้อยละ 21.5) และค้าขาย (ร้อยละ 31) รายได้ เฉลี่ย 6,166.82 บาท ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน เฉลี่ย 25.56 ปี การรับรู้ข่าวสาร แยกเป็นรับรู้ 1 ช่องทาง รับรู้ 2 ช่องทางและรับรู้มากกว่า 2 ช่องทาง และลักษณะที่อยู่อาศัยของประชาชน แยกเป็นบ้านชั้นเดียว (ร้อยละ 53.8) และบ้านสองชั้น (ร้อยละ 38.80) (3) การรับรู้ทัศนคติของประชาชนอยู่ในระดับดี (4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการของเทศบาลส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และ (5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทิ้งขยะลงถังของประชาชน ได้แก่ เพศ การศึกษา ช่องทางการรับรู้ข่าวสาร และการบริหารจัดการของเทศบาล ที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/658
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
101774.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons