กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6588
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบปัญหาและการพัฒนาการบริหารจัดการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหนองคายกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparison of problems and development of management administration between the offices of the provincial election commission of Nongkhai and Udonthani
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินทร์ ธูปกล่ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วีรภัทร สมีกลาง, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหนองคาย
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานี
การบริหารการพัฒนา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ (1) ปัญหาการบริหารจัดการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหนองคาย กับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานี (2) การพัฒนาการบริหารจัดการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหนองคาย กับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานีและ (3) ภาพรวมแนวโน้มของการพัฒนาการบริหารจัดการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหนองคาย กับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งผ่านการหาค่าความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.90 สำหรับกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย (1) พนักงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหนองคาย และอุดรธานี จำนวน 42 คนและ (2) ประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคายและอุดรธานี จำนวน 1,111 คน รวม 1,153 คน เก็บรวบรวมแบบสอบถามกลับคืนมาได้ 1,070 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92.80 ของแบบสอบถามทั้งหมดสำหรับสถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทั้ง 2 แห่ง พบว่า ไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ (1) ปัญหาที่สำคัญ คือ การสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามและการตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่มากเท่าที่ควร (2) การพัฒนาที่สำคัญ คือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งควรจัดหลักสูตรการพัฒนาหรือการฝึกอบรมผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเป็นประจำเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามและการตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และ (3) ภาพรวมแนวโน้มที่สำคัญ คือ ในอนาคต สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมีแนวโน้มของการพัฒนาการบริหารจัดการที่อำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชนมากกว่าในปัจจุบัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6588
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122098.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons