กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6593
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การตลาดของ บมจ. ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง จังหวัดสตูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing strategy of Krung Thai Bank Public Company Limited branch Khuankalong Satun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชรี บุญรัตนไมตรี, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารกรุงไทย--ไทย--สตูล
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การตลาดของบมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)วิเคราะห์ โครงสร้างตลาดและสภาพการแข่งขันของธุรกิจ บมจ.ธนาการกรุงไทย สาขาควนกาหลง (2) ศึกษาการตลาดเป้าหมายและส่วนประสมการตลาดของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง (3) ศึกษาการกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มผลประกอบการของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิโครงสร้างตลาด ของธุรกิจธนาคาร สภาพการแข่งขันและการกำหนดกลยุทธ์ ของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง ซึ่งได้ค้นคว้าจากรายงานข้อมูลประจำปี 2551 วารสาร บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพโครงสร้างตลาดในพื้นที่อำเภอควนกาหลงและพื้นที่ใกล้เคียงสาบันการเงิน จำนวน 4 ราย และไม่ใช่สถาบันการเงิน จำนวน 5 ราย มีสภาพการแข่งขันรุนแรงไม่มากนัก บมจ.ธนาคารกรุงไทยมีศักยภาพเหนือคู่แข่ง โดยมีคู่แข่งขันหลัก 3 ราย (2) บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง แบ่งกลุ่มตลาดและกำหนดลูกค้าเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มข้าราชการ กลุ่มลูกค้าธุรกิจรับซื้อน้ำยาง กลุ่มลูกค้าบัญชีเงินฝากรายใหญ่ และวางตำแหน่ง การคำเนินธุรกิจ เป็น "ธนาคารแสนสะดวก" และส่วนประสมการตลาดเน้นในเรื่องผลิตภัณฑ์และการให้บริการ มีเครือข่ายมากดี สร้างความเชื่อมั่นต่อธนาคาร ใช้กลยุทธ์ด้านราคาโคยกำหนดโปรแกรมพิเศษให้คอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าและดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าธนาคารอื่น รวมถึงการสร้างเครือข่าย การให้บริการระบบอัดโนมัติ (3) การกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มผลประกอบการของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง ใช้จุดแข็งของธนาคารที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับภาครัฐ โดยเน้นกลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับการรับประกันคุณภาพการให้บริการ การแก้ไขปัญหา และการเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับลูกค้า แต่ละกลุ่มแต่ละประเภท คือ ให้อัตราคอกเบี้ยพิเศษ เสนอขายสินค้าอุปโภคบริโภค การเช่าซื้อ (ลิสซิ่ง) การประกันภัย และการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6593
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_134167.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons