Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6593
Title: | กลยุทธ์การตลาดของ บมจ. ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง จังหวัดสตูล |
Other Titles: | Marketing strategy of Krung Thai Bank Public Company Limited branch Khuankalong Satun Province |
Authors: | ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร พัชรี บุญรัตนไมตรี, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ธนาคารกรุงไทย--ไทย--สตูล |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การตลาดของบมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ โครงสร้างตลาดและสภาพการแข่งขันของธุรกิจ บมจ.ธนาการกรุงไทย สาขาควนกาหลง (2) ศึกษาการตลาดเป้าหมายและส่วนประสมการตลาดของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง (3) ศึกษาการกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มผลประกอบการของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิโครงสร้างตลาด ของธุรกิจธนาคาร สภาพการแข่งขันและการกำหนดกลยุทธ์ ของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง ซึ่งได้ค้นคว้าจากรายงานข้อมูลประจำปี 2551 วารสาร บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพโครงสร้างตลาดในพื้นที่อำเภอควนกาหลงและพื้นที่ใกล้เคียงสถาบันการเงิน จำนวน 4 ราย และไม่ใช่สถาบันการเงิน จำนวน 5 ราย มีสภาพการแข่งขันรุนแรงไม่มากนัก บมจ.ธนาคารกรุงไทยมีศักยภาพเหนือคู่แข่ง โดยมีคู่แข่งขันหลัก 3 ราย (2) บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง แบ่งกลุ่มตลาดและกำหนดลูกค้าเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มข้าราชการ กลุ่มลูกค้าธุรกิจรับซื้อน้ำยาง กลุ่มลูกค้าบัญชีเงินฝากรายใหญ่ และวางตำแหน่งการดำเนินธุรกิจ เป็น "ธนาคารแสนสะดวก" และส่วนประสมการตลาดเน้นในเรื่องผลิตภัณฑ์และการให้บริการ มีเครือข่ายมาก มีภาพลักษณ์ดี สร้างความเชื่อมั่นต่อธนาคาร ใช้กลยุทธ์ด้านราคาโดยกำหนดโปรแกรมพิเศษให้คอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าและดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าธนาคารอื่น รวมถึงการสร้างเครือข่าย การให้บริการระบบอัดโนมัติ (3) การกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มผลประกอบการของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาควนกาหลง ใช้จุดแข็งของธนาคารที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับภาครัฐ โดยเน้นกลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับการรับประกันคุณภาพการให้บริการ การแก้ไขปัญหา และการเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับลูกค้า แต่ละกลุ่มแต่ละประเภท คือ ให้อัตราคอกเบี้ยพิเศษ เสนอขายสินค้าอุปโภคบริโภค การเช่าซื้อ (ลิสซิ่ง) การประกันภัย และการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6593 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_134167.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License