กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6600
ชื่อเรื่อง: | ความคิดเห็นของผู้ประกอบการวิชาชีพเกี่ยวกับความพร้อมด้านทรัพยากรที่มีต่อการเปิดเสรีภาคบริการวิชาชีพบัญชี ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Accounting entrepreneurs' opinions about availability of resources in accounting liberalization under general agreement on trade in services |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดลพร บุญพารอด พิเชษฐ์ สิทธิโชคสกุลชัย, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชีเกี่ยวกับความพร้อมด้านทรัพยากรที่มีต่อการเปิดเสรีภาคบริการวิชาชีพบัญชี ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชีซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานที่เปิดสำนักงานให้บริการทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี และการให้คำปรึกษาด้านภาษีที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่มีระยะเวลาดำเนินงานไม่น้อยกว่า 10 ปี กำหนดสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของประชากรใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเองเป็นเครื่องมือ จัดเก็บข้อมูล สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ อัตราร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านบุคลากรยังมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการเปิดเสรีภาคบริการ ทั้งนี้ยังต้องได้รับการพัฒนาความรู้เพื่อให้สามารถเขงข้นกับผู้ประกอบการต่างชาติ โดยเนื้อหาผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยต้องได้รับการพัฒนา เช่น ภาษาต่างประเทศ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ เป็นต้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากที่สุดซึ่งในปัจจุบันบทบาทของหน่วยงานที่กำกับดูแลวิชาชีพบัญชีมีการส่งเสริมความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยในระดับปานกลาง สำหรับความสามารถที่ผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยจะเข้าไปให้บริการในต่างประเทศจำแนกช่องทางตามกรอบความตกลงทั่วไป 4 ช่องทาง ก็อยู่ในระดับน้อยที่สุดถึงน้อยเท่านั้น (2) ด้านวัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะยิ่งทวีความสำคัญต่อการให้บริการทางวิชาชีพบัญชีในระดับมากที่สุด แต่ในปัจจุบันผู้ประกอบการมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อไว้ให้บริการทางวิชาชีพ รวมทั้งความทันสมัยของเทคโนโลยีที่ก็อยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้สำหรับจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้เพิ่มเติมในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา (3) ด้านการจัดการแม้ว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะไม่มีการจัดทำผังแสดงโครงสร้างองค์กร แต่มีระบบการให้ผลตอบแทนที่เป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับศักยภาพของผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยในการเข้าไปให้บริการในต่างประเทศผ่านกลยุทธ์ร่วมทุนกับต่างชาติอยู่ในระดับน้อยเท่านั้น ทั้งนี้หากมีการนำเอาเครื่องมือทางการบริหารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภพการคำเนินงานได้ในระดับมาก (4) ด้านเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงานในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความเพียงพอ โดยแหล่งเงินทุนที่สำคัญก็มาจากเงินทุนส่วนตัว และหากมีการเปิดเสรีภาคบริการในอนาคต ก็เห็นด้วยกับการที่หน่วยงานกำกับคูแลจะจัดหาแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยไว้ใช้ในการดำเนินงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6600 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_134169.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License