Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6605
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิ่งพร ทองใบth_TH
dc.contributor.authorสุวรรณี วิริยะ, 2522-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-21T05:38:12Z-
dc.date.available2023-06-21T05:38:12Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6605en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะงานที่ปฏิบัติและทัศนคติการปฎิบัติงาน (3) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานมหาวิทยาลัยทั้งพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ จำนวน 367 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างลุ่มแบบเชิงชั้น เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดี และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภาพรวม อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านความเต็มใจและทุ่มเทในการปฏิบติงานเพื่อองค์การ รองลงมาคือ ด้านความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์การด้านความต้องการที่จะดำรงความเป็นสมาชิกภาพขององค์การ และด้านความศรัทธาและการยอมรับในเป้าหมายและคุณค่าขององค์การ (2) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ อายุ สถานภาพการสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือน ส่วนด้านระดับการศึกษาไม่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ปัจจัยลักษณะงานที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับดี ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านความท้าทายในการทำงาน ด้านความอิสระในการทำงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านความก้าวหน้าและความสำเร็จในงาน ปัจจัยด้านทัศนคติในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความมั่นคงต่อการทำงานในองค์การ ด้านการได้พัฒนาความรู้ความสามารถ และด้านเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ (3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควรเพิ่มค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับค่าครองชีพและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และควรเปิดโอกาสให้บุตรของพนักงานมหาวิทยาลัย(สายสนับสบุน) เข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ทั้งทางด้านการจัดสวัสดิการ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการให้โอกาสและรับพังความดิดเห็นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2010.21en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--ข้าราชการและพนักงานth_TH
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การth_TH
dc.titleความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยth_TH
dc.title.alternativeOrganization commitment of Chulalongkorn University's employeesth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2010.21-
dc.identifier.urlhttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2010.21en_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research are to (1) Study the levels of organization commitment of Chulalongkorn University’s employees. (2) Compare factors affecting the organization commitment of Chulalongkorn University’s employees are the individual’s motive, the specific nature in job description, and the working attitude. (3) Provide recommendations to enhance and encourage organization commitment of Chulalongkorn University’s employees. The research samples consisted of 367 Chulalongkorn University’s employees, including academic and operation staff; and were chosen by Stratified Random Sampling. Data were collected from constructed questionnaires, and analyzed by frequencies, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, F-test, LSD, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results show that (1) Chulalongkorn University’s employees have high level of commitment to the organization (2) Factors affecting organization commitment of the employees are personal factors, job characteristic, and working attitude. Among several personal factors, age, marital status, years of employment, and monthly salary. While educational background has no significant relationship. Job characteristic and working attitude also has significantly positive correlation with the commitment of employees in total and in part at the 0.05 level. (3) The recommendations to enhance and encourage organization commitment include an adjustment of employee’s salary and benefits to match with current economic situation, an additional supports on child education including the right for enrollment into Chulalongkorn University’s Demonstration School for supporting staffs children, an equal and equivalent treatments regarding employee’s benefit, performance evaluation, and an increase in communication between management and staff.en_US
dc.contributor.coadvisorราณี อิสิชัยกุลth_TH
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
124421.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.29 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons