กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6605
ชื่อเรื่อง: ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organization commitment of Chulalongkorn University's employees
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ราณี อิสิชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวรรณี วิริยะ, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- ข้าราชการและพนักงาน
ความผูกพันต่อองค์การ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะงานที่ปฏิบัติและทัศนคติการปฎิบัติงาน (3) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานมหาวิทยาลัยทั้งพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ จำนวน 367 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างลุ่มแบบเชิงชั้น เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดี และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน ภาพรวม อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านความ เต็มใจและทุ่มเทในการปฏิบติงานเพื่อองค์การ รองลงมาคือ ด้านความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ด้านความต้องการที่จะดำรงความเป็นสมาชิกภาพขององค์การ และด้านความศรัทธาและการยอมรับในเป้าหมาย และคุณค่าขององค์การ (2) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ อายุ สถานภาพการสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือน ส่วน ด้านระดับการศึกษาไม่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ปัจจัยลักษณะงานที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับดี ทั้งในภาพรวม และรายด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านความท้าทายในการทำงาน ด้านความอิสระในการทำงาน ด้านการมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านความก้าวหน้าและความสำเร็จในงาน ปัจจัยด้านทัศนคติในการปฏิบัติงานอยู่ ในระดับดีทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้าน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความมั่นคงต่อการทำงานในองค์การ ด้าน การได้พัฒนาความรู้ความสามารถ และด้านเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ (3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการ เสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควรเพิ่มค่าตอบแทนให้ เหมาะสมกับค่าครองชีพและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และควรเปิดโอกาสให้บุตรของพนักงานมหาวิทยาลัย (สายสนับสบุน) เข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเท่า เทียมกัน ทั้งทางด้านการจัดสวัสดิการ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการให้โอกาสและรับพังความดิดเห็น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6605
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124421.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons