Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6625
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ สามัคคีธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปริญญา สายโรจน์, 2512--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-21T07:13:02Z-
dc.date.available2023-06-21T07:13:02Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6625-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นประสิทธิภาพในการบริหารการ ควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก (2) ปัญหาการบริหารการควบคุมผู้หนี ภัยการสู้รบจากประเทศพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก และ (3) แนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารการ ควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศพม่าจากผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของกระทรวง มหาดไทยและ กระทรวงกลาโหมที่ทำหน้าที่ในการควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศพม่า ณ พื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก จำนวน 359 ราย ได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 318 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ คือ การทดสอบค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพในการบริหารการควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจาก ประเทศพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก อยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัญหาในการบริหารการควบคุมผู้หนีภัย การสู้รบจากประเทศพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถของ เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่องค์กรเอกชนที่เป็นชาวต่างประเทศในการทำงานและผู้หนีภัยการสู้รบ จากประเทศพม่าได้ รวมทั้งขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบการบริหารงานทั่วไป งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ ด้านระบบบริหารจัดการในการควบคุม เครื่องมือ เครื่องใช้ มีไม่ เพียงพอ และไม่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน ระบบเทคโนโลยีในการควบคุมไม่ทันสมัย การวางแผน ปฏิบัติงานร่วมกันของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องยังมีน้อย ด้านการมีส่วนร่วมในการควบคุม ตัวผู้หนีภัยการ สู้รบจากประเทศพม่าไม่ให้ความร่วมมือกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของพื้นที่พักพิง ชั่วคราวฯ และออกนอกพื้นที่พักพิงชั่วคราวโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งไปกระทำผิดกฎหมาย ลักเล็กขโมยน้อย ตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น ด้านการสนับสนุนและช่วยเหลือในการควบคุม มีบุคลากรไม่เพียงพอในพื้นที่ ใกล้เคียงกับพื้นที่พักพิง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาท้องถิ่น และ3) แนวทางในการแก้ไขปัญหา การบริหารการควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศพม่าโดยการพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและปรับปรุงระบบใน พื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตากให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectศูนย์อพยพ -- การบริหารth_TH
dc.subjectผู้ลี้ภัยชาวพม่าth_TH
dc.titleการบริหารการควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตากth_TH
dc.title.alternativeControl management of people fleeing from fighting in Myanmar at Tak Province Temporary Shelterth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were : (1) to study the opinion a level the efficiency of the Control Management of people fleeing from the fighting in Myanmar at the Tak Province Temporary Shelter, (2) to study the problems of the Control Management of people fleeing from the fighting in Myanmar at the Tak Province Temporary Shelter and to (3) compile solutions to the problems of the Control Management of people fleeing from the fighting in Myanmar suggested by field officers and relevant persons. The data was collected from 359 field officers, of Ministry of Interior and Ministry of Defense, who take responsibilities in controlling people fleeing from the fighting in Myanmar at the Tak Province Temporary Shelter 318 questionnaires were received and data analysis employed statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation and hypothesis testing –t-test and F-test. It was found from the research that (1) the efficiency of the Control Management of people fleeing from the fighting in Myanmar at the Tak Province Temporary Shelter was at moderate level 2) problems of the control management of people fleeing from the fighting in Myanmar at the Tak Province temporary shelter can be divided into 5 categories : Personnel – many cannot communicate with foreign NGO staff and displaced persons; including lack of IT knowledge Budget– insufficient materials and equipment Equipment and materials – insufficient and inappropriate materials for operation, outdated IT system and inadequate planning with related units Displaced persons–uncooperative with officers, not adhere to the rules of the Shelter, leaving from the Shelter without permission as well as involving in illegal misconduct (stealing, destruction forest etc) Support and assistance – too little support from authoritative persons: e.g. Chief of Sub-district, Village Headman, members of Local Council; of the area nearby the Shelter and 3) the suggestion of the sample thinks, should solve by officer development and adjust the system of the Control Management of people fleeing from the fighting in Myanmar at the Tak Province Temporary Shelter, have the efficiency more and moreen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
124764.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons