กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6625
ชื่อเรื่อง: การบริหารการควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Control management of people fleeing from fighting in Myanmar at Tak Province Temporary Shelter
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปริญญา สายโรจน์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
ศูนย์อพยพ -- การบริหาร
ผู้ลี้ภัยชาวพม่า
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นประสิทธิภาพในการบริหารการ ควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก (2) ปัญหาการบริหารการควบคุมผู้หนี ภัยการสู้รบจากประเทศพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก และ (3) แนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารการ ควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศพม่าจากผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของกระทรวง มหาดไทยและ กระทรวงกลาโหมที่ทำหน้าที่ในการควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศพม่า ณ พื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก จำนวน 359 ราย ได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 318 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ คือ การทดสอบค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพในการบริหารการควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจาก ประเทศพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก อยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัญหาในการบริหารการควบคุมผู้หนีภัย การสู้รบจากประเทศพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตาก แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถของ เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่องค์กรเอกชนที่เป็นชาวต่างประเทศในการทำงานและผู้หนีภัยการสู้รบ จากประเทศพม่าได้ รวมทั้งขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบการบริหารงานทั่วไป งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ ด้านระบบบริหารจัดการในการควบคุม เครื่องมือ เครื่องใช้ มีไม่ เพียงพอ และไม่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน ระบบเทคโนโลยีในการควบคุมไม่ทันสมัย การวางแผน ปฏิบัติงานร่วมกันของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องยังมีน้อย ด้านการมีส่วนร่วมในการควบคุม ตัวผู้หนีภัยการ สู้รบจากประเทศพม่าไม่ให้ความร่วมมือกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของพื้นที่พักพิง ชั่วคราวฯ และออกนอกพื้นที่พักพิงชั่วคราวโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งไปกระทำผิดกฎหมาย ลักเล็กขโมยน้อย ตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น ด้านการสนับสนุนและช่วยเหลือในการควบคุม มีบุคลากรไม่เพียงพอในพื้นที่ ใกล้เคียงกับพื้นที่พักพิง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาท้องถิ่น และ3) แนวทางในการแก้ไขปัญหา การบริหารการควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศพม่าโดยการพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและปรับปรุงระบบใน พื้นที่พักพิงชั่วคราวจังหวัดตากให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6625
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124764.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons