กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6628
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาการปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Best practice development at Chiangmai Ram Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนชัย ยมจินดา ภัทรนันท์ เพ็ชรแก้ว, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล--ไทย--เชียงใหม่ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นการพัฒนาการปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของลักษณะส่วนบุคคลต่อความเป็นเลิศของโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานในโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที-เอฟ และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.8 มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 37.5 รายได้ระหว่าง 5,000 - 10,000 บาท ร้อยละ 45 มีการศึกษาระดับปริญญา ร้อยละ 49.2 มีระดับตำแหน่งเป็นผู้ปฏิบัติการ ร้อยละ 90 หน่วยงานที่สังกัดฝ่ายการพยาบาล ร้อยละ 53.3 มีอายุการทำงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 34.2 (2) ระดับความคิดเห็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศขององค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยเรียงลำดับปัจจัยสร้างความเป็นเลิศแต่ละด้านตามกรอบแนวคิด BSC พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าปัจจัยความเป็นเลิศขององค์กรอยู่ในระดับดีทั้ง 4 ด้านคือด้านผลการดำเนินงานของธุรกิจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านกระบวนการดำเนินงานภายใน ด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต ส่วนด้านความพึงพอใจของลูกค้า/ผู้รับบริการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (3) การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของลักษณะส่วนบุคคลต่อความเป็นเลิศของโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม พบว่า พนักงานที่มีอายุ รายได้ ตำแหน่งงาน อายุงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยยกเว้นด้านเพศ ระดับการศึกษา หน่วยงานที่สังกัดที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยสร้างความเป็นเลิศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6628 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_127167.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License