กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6640
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนแม่ทะประชาสามัคคี จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The satisfaction of parents with educational management of Maetha Pracha Samukkee School in Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ใจชาย ปัณนะพงษ์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ความพอใจ
ผู้ปกครองกับเด็ก
การศึกษา -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1).ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนแม่ทะประชาสามัคคี จังหวัดลาปาง 2).เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนแม่ทะประชาสามัคคี จำแนกตามวุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ และระดับการศึกษาของนักเรียนในปกครอง และ 3).เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานโรงเรียนแม่ทะประชาสามัคคี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนแม่ทะประชาสามัคคี จังหวัดลำปาง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนแม่ทะประชาสามัคคี จังหวัดลำปางที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาโรงเรียนแม่ทะประชาสามัคคี จังหวัดลำปาง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผู้ปกครองที่มีวุฒิการศึกษาต่ากว่าปริญญาตรี มีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษามากกว่าผู้ปกครองที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี ผู้ปกครองที่มีอาชีพทางานในหน่วยงาน มีความพึงพอใจมากกว่าผู้ปกครองที่มีอาชีพอิสระ ผู้ปกครองที่มีรายได้มากกว่า 7,000 บาท/เดือน มีความพึงพอใจมากกว่าผู้ปกครองที่มีรายได้ต่ากว่า 7,000 บาท/เดือน ผู้ปกครองของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความพึงพอใจมากกว่าผู้ปกครองของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ3) ได้แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานโรงเรียน ดังนี้ ให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาด จัดหาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา ปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น กวดขันด้านความมีระเบียบวินัยแก่ผู้เรียน และควรมีการระดมทรัพยากรจากผู้ปกครองอย่างเหมาะสมให้เพียงพอกับการนาไปพัฒนาโรงเรียนต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6640
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_159404.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons