Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/665
Title: พฤติกรรมของผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง : ศึกษากรณีการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 ในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Canvassers' behavior : a case study of the 2007 general election of the second constituency in Nakhon Ratchasima Province
Authors: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสนีย์ คำสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
อติพรรณ ทองจรัส, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์
การเลือกตั้ง--ไทย--นครราชสีมา
พฤติกรรมการเลือกตั้ง
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงลักษณะที่ผู้สนับสมุนผู้สมัครรับเสือกตั้งให้การสนับสนุนผู้สมัครรับเสือกตั้ง (2) ศึกษาพฤติกรรมของผู้สนับสมุนผู้สมัครรับเลือกตั้งในการแสวงหาการสนับสมุนจากผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง(3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคของผู้สนับสมุนผู้สมัครรับเลือกตั้งในการแสวงหาการสนับสมุนจากผู้มีสีทธิออกเสียงเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และ (4) เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแสวงหาการสนับสมุนจากผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะที่ผู้สนับสมุนผู้สมัครรับเลือกตั้งให้การสนับสมุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง คือ การประชาสัมพันธ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งในทางหลักการ การสำรวจข้อมูลพื้นฐานของท้องถิ่นที่จะมีผลต่อการเลือกตั้ง การรักษาฐานคะแนนเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง การรณรงค์หาเสียง การขอบคุณผู้มีสีทธิเลือกตั้ง และ การดำเนินการร้องเรียนผู้แข่งทางการเมืองทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง หรือการแก้ไขข้อกล่าวหาจากการถูกร้องเรียนว่าทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง (2) ผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งมีพฤติกรรมในการแสวงหาการสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งก่อนการเลือกตั้งก่อนการเลือกตั้ง ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งในทางหลักการ การสำรวจข้อมูลพนฐานของท้อถิ่นที่จะมีผลต่อการเลือกตั้ง และการรักษาฐานคะแนนเสียงของผู้สมัคร พฤติกรรมขณะเลือกตั้ง ได้แก่ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในช่วง เวลาก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้งและการดำเนินการในวันเลือกตั้งและพฤติกรรมภายหลังจากการเลือกตั้ง ได้แก่ พฤติกรรมการขอบคุณผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการดำเนินการร้องเรียนคู่แช่งทางการเมืองหำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือการแก้ไขข้อกล่าวหาจากการผู้ร้องเรียนว่าทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง (3) ปัญหาอุปสรรคของผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ได้แก่ ผู้แข่งทางการเมืองเพ่งเล็งการทำผิด กฎหมายเลือกตั้ง การตรวจสอบและควบคุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งและองค์กรเอกชน และผู้สนับสมุนฝ่ายตรงข้ามข่มขู่และใส่ร้ายทางการเมือง (4) ข้อเสนอแนะมี 2 ประการ คือ ควรแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งเกี่ยวกับ การกำหนดเงื่อนไขของผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร และควรแก้ไขพฤติกรรมของผู้สนับสมุนผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เป็นผู้ที่ให้ความรู้เที่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งแก่ประชาชน
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/665
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
114936.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons