Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6651
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจรรยพิมพ์ เมฆวิชัย-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-21T08:25:19Z-
dc.date.available2023-06-21T08:25:19Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6651-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551th_TH
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การบริหารการตรวจสอบภายในในด้าน โครงสร้าง ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการดำเนินงานของสำนักงานตรวจสอบภายในทหาร กองบัญชาการ กองทัพไทย (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายในทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (3) เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหาร การตรวจสอบภายในของสำนักงาน ตรวจสอบภายในทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือกรรมการตรวจสอบภายใน ของสำนักงานตรวจสอบ ภายในทหาร จำนวน 73 คน โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านโครงสร้างของหน่วยงาน การแบ่งกองตรวจมีความเหมาะสมการจัด ชุดตรวจสอบภายในภายในกองตรวจควรมีมากกว่า 3 ชุด และมีการหมุนเวียนหน่วยรับตรวจทุกปีจึงจะ เหมาะสม ด้านบุคลากรจำนวนกรรมการตรวจสอบภายในมีน้อยเกินไป และยังขาดการฝึกอบรมในด้านการ ตรวจสอบภายใน สวัสดิการต่าง ๆ ที่มีให้มีผู้เข้าใช้บริการน้อย ด้านกระบวนการดำเนินงาน กรรมการตรวจสอบภายในให้ความสำคัญมากในเรื่องการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การกำหนดแผนการตรวจสอบมีความเหมาะสม การกำหนดแผนการปฏิบัติงานตรวจสอบจะให้ความสำคัญในการตรวจสอบทางด้านการเงินและการบัญชี การตรวจสอบทางด้านการดำเนินงาน และการตรวจสอบทางด้านการควบคุมภายใน และการรายงานผลการตรวจสอบภายในมีระยะเวลาน้อยเกินไป (2) การบริหารการตรวจสอบภายใน มีปัญหาที่สำคัญ คือปัญหา ด้านโครงสร้าง การมีสายการบังคับบัญชาหลายชั้น ทำให้ต้องใช้เวลา และขาดความเป็นอิสระ ด้านบุคลากรมี จำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการดำเนินงาน การสำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่ ไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถประเมินความเสี่ยงในการเลือกหน่วยรับตรวจได้ ทำให้การกำหนดแผนการตรวจสอบต้อง กำหนดให้ตรวจหน่วยรับตรวจทั้งหมด ส่งผลให้การกำหนดแผนการปฏิบัติงานทำได้ยาก เนื่องจากปริมาณ งานที่มีมากแต่ระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีน้อย (3) ข้อเสนอแนะ ควรจัดโครงสร้างองค์กร โดยลดสายการ บังคับบัญชาให้สั้นลง ควรมีการสำรวจปริมาณงาน และปรับอัตรากำลังพลให้เพียงพอกับปริมาณงาน ควรให้กรรมการตรวจสอบภายในมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนต่าง ๆ และควรจัดทำคู่มือ หรือรูปแบบรายงานเป็น ลายลักษณ์อักษร เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการตรวจสอบภายในth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2008.200-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกองบัญชาการกองทัพไทย--การบริหารth_TH
dc.subjectการตรวจสอบภายในth_TH
dc.titleการวิเคราะห์การบริหารการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายในทหาร กองบัญชาการกองทัพไทยth_TH
dc.title.alternativeAn analysis of internal audit administration of Internal Audit Office of Royal Thai Armed Forces Headquartersth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2008.200-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeObjectives of this research were to (1) analyse the administration of an internal auditing process in regards of its structure, personnel and process of operation of Internal Audit Office of Royal Thai Armed Forces Headquarters (2) study problems and obstacles of an internal audit administration of Internal Audit Office of Royal Thai Armed Forces Headquarters (3) propose the ways to develop an internal auditing administration of the Internal Audit Office of Royal Thai Armed Forces Headquarters Population consisted of 73 Internal Auditors of Office of Royal Thai Armed Forces Headquarters. Instruments used were questionnaire and interview. Statistical tools employed were frequency and percentage. Research result revealed that (1) the existing structure and division of work were appropriate, most of the population agreed that the organization should assign more than 3 auditing units and annually relate them; as for personnel aspect numbers of unit members were too less, the current members were lack of sufficient training in internal audit moreover, welfares provided were not adopted; in regard of work process, emphasis was put on primary data survey, financial and accounting audit, operational process and an audit of an internal control (2) major problem in structure was chain of command hierarchically was found, resulting in lack of autonomy in auditing ; there were small numbers of personnel so consequently inadequate personnel for the operation was witnessed; in operational process, since primary data was not sufficient risk assessment in selecting audit unit then could not be conducted, therefore, examination of all audit unit was scheduled which resulted in difficulty to determine action plan, also, volume of work was large While operation lime was limited, inefficiency could then be expected (3) recommendations were : workload survey should be arranged, together with the adjustment of manpower to properly reflect the workload, internal audit unit members should participate in planning activity, handbooks or standard written report should be dev eloped so to foster standard of procedures in internal auditingen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
112134.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons