กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6651
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์การบริหารการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายในทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of internal audit administration of Internal Audit Office of Royal Thai Armed Forces Headquarters
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรรยพิมพ์ เมฆวิชัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
กองบัญชาการกองทัพไทย--การบริหาร
การตรวจสอบภายใน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การบริหารการตรวจสอบภายในในด้าน โครงสร้าง ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการดำเนินงานของสำนักงานตรวจสอบภายในทหาร กองบัญชาการ กองทัพไทย (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการตรวจสอบภายในของสำนักงานตรวจสอบภายในทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (3) เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหาร การตรวจสอบภายในของสำนักงาน ตรวจสอบภายในทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือกรรมการตรวจสอบภายใน ของสำนักงานตรวจสอบ ภายในทหาร จำนวน 73 คน โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านโครงสร้างของหน่วยงาน การแบ่งกองตรวจมีความเหมาะสมการจัด ชุดตรวจสอบภายในภายในกองตรวจควรมีมากกว่า 3 ชุด และมีการหมุนเวียนหน่วยรับตรวจทุกปีจึงจะ เหมาะสม ด้านบุคลากรจำนวนกรรมการตรวจสอบภายในมีน้อยเกินไป และยังขาดการฝึกอบรมในด้านการ ตรวจสอบภายใน สวัสดิการต่าง ๆ ที่มีให้มีผู้เข้าใช้บริการน้อย ด้านกระบวนการดำเนินงาน กรรมการตรวจสอบภายในให้ความสำคัญมากในเรื่องการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การกำหนดแผนการตรวจสอบมีความเหมาะสม การกำหนดแผนการปฏิบัติงานตรวจสอบจะให้ความสำคัญในการตรวจสอบทางด้านการเงินและการบัญชี การตรวจสอบทางด้านการดำเนินงาน และการตรวจสอบทางด้านการควบคุมภายใน และการรายงานผลการตรวจสอบภายในมีระยะเวลาน้อยเกินไป (2) การบริหารการตรวจสอบภายใน มีปัญหาที่สำคัญ คือปัญหา ด้านโครงสร้าง การมีสายการบังคับบัญชาหลายชั้น ทำให้ต้องใช้เวลา และขาดความเป็นอิสระ ด้านบุคลากรมี จำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการดำเนินงาน การสำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่ ไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถประเมินความเสี่ยงในการเลือกหน่วยรับตรวจได้ ทำให้การกำหนดแผนการตรวจสอบต้อง กำหนดให้ตรวจหน่วยรับตรวจทั้งหมด ส่งผลให้การกำหนดแผนการปฏิบัติงานทำได้ยาก เนื่องจากปริมาณ งานที่มีมากแต่ระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีน้อย (3) ข้อเสนอแนะ ควรจัดโครงสร้างองค์กร โดยลดสายการ บังคับบัญชาให้สั้นลง ควรมีการสำรวจปริมาณงาน และปรับอัตรากำลังพลให้เพียงพอกับปริมาณงาน ควรให้กรรมการตรวจสอบภายในมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนต่าง ๆ และควรจัดทำคู่มือ หรือรูปแบบรายงานเป็น ลายลักษณ์อักษร เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการตรวจสอบภายใน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6651
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112134.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons