กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6661
ชื่อเรื่อง: บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The administrator's role in support of classroom action research of basic education schools under Chatuchak District Office, Bangkok Metropolitan Administration
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชมชล นาพิมพ์, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษา -- วิจัย
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษา
ผู้บริหารโรงเรียน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สํานักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในการส่งเสริมการทําวิจัยในชั้นเรียน ตามการรับรู้ของครู (2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในการ ส่งเสริมการทําวิจัยในชั้นเรียน จําแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการบริหารของผู้บริหาร ตามการรับรู้ของครู และ (3) สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการส่งเสริมการทําวิจัยชั้นเรียน ศึกษาความต้องการและข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2553 จํานวน 180 คน จาก 6 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบ มาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยง 96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ที่ระดับนัยสําคัญ.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มีบทบาทในการส่งเสริมการทําวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมและรายค้านอยู่ในระดับมาก (2) ผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีเพศและประสบการณ์ในการบริหารต่างกัน มีบทบาทในการส่งเสริมการทําวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมและ รายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกันมีบทบาทในการส่งเสริมการทําวิจัย ในชั้นเรียนโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันโดยผู้บริหารที่มีวุฒิปริญญาเอกมีบทบาทในการส่งเสริมการทํา วิจัยในชั้นเรียนสูงกว่าผู้บริหารที่มีวุฒิปริญญา (3) ความต้องการของครูที่เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในการส่งเสริมการทําวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ ต้องการให้จัดสิ่งอํานวยความสะดวกเกี่ยวกับการจัดพิมพ์ การจัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการจากวิทยากรที่มีความรู้ความชํานาญอย่างต่อเนื่อง สม่ําเสมอและลงมือปฏิบัติ ไปพร้อมๆกับการอบรม ให้ผู้บริหารกําหนดเป้าหมายในการส่งเสริมการทําวิจัยในชั้นเรียนให้ชัดเจนเพื่อให้ครู เข้าใจง่ายสามารถปฏิบัติได้ ให้ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทําวิจัยในชั้นเรียนซึ่งกันและกัน อย่างเป็นกัลยาณมิตร สําหรับข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการส่งเสริม การทําวิจัยในชั้นเรียน ครูผู้สอนมีข้อเสนอแนะให้ผู้บริหาร ควรจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย เช่น บริการ อินเทอร์เน็ตเพื่อความสะดวกในการค้นคว้า สืบค้น และอ้างอิง ควรกําหนดให้ครูทํางานวิจัยในชั้นเรียนปีละ 1 เรื่อง ผู้บริหารควรติดตามและให้คําแนะนําแก่ครูเกี่ยวกับการทําวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ครูได้รับ การอบรมให้ความรู้ และผู้บริหารควรให้ความสําคัญในการสร้างแรงจูงใจและให้ขวัญกําลังใจแก่ครูอย่าง สม่ําเสมอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6661
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_119123.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons