Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6675
Title: | ภาวะผู้นำของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 |
Other Titles: | Teacher leadership in the 21st century in primary schools under the Office of Yasothon Primary Education Service Area 2 |
Authors: | รัตนา ดวงแก้ว ชำนาญ แดงท่าขาม, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ครูประถมศึกษา ภาวะผู้นำ การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของครูในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การสอน และขนาดของโรงเรียน และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 จำนวน 358 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของครูในศตวรรษที่ 21 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และแบบสัมภาษณ์การพัฒนาภาวะผู้นำของครูในศตวรรษที่ 21 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภาวะผู้นำของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ครูที่แตกต่างกันด้านระดับการศึกษา ประสบการณ์การสอน และขนาดของโรงเรียนมีภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ส่วนครูที่มีเพศแตกต่างกันมีภาวะผู้นาในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ (3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำของครูในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ควรนำวัฒนธรรมความร่วมมือของครูที่มีความเข้มแข็งมาเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาภาวะผู้นำของครูแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ควรพัฒนาครูให้มีภาวะผู้นำด้านการเข้าถึงและใช้การวิจัยในการเรียนการสอน และควรสนับสนุนให้ครูที่เชี่ยวชาญในการทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นพี่เลี้ยงให้กับครูที่มีประสบการณ์น้อย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6675 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159664.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License