กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6695
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้อแว่นตาของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Eyewear purchasing behavior of consumers in Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัตติยา ตรียะอรุณศิริ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
แว่นตา
พฤติกรรมผู้บริโภค
การซื้อสินค้า
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่ซื้อแว่น (2) พฤติกรรมการซื้อแว่นตาของผู้บริโภค (3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อแว่นตา ของผู้บริโภค (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อแว่นตาของ ผู้บริโภคและ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อแว่นตาของผู้บริโภค วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้แว่นตา จำนวน 400 คน เก็บตัวอย่าง โดยบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟและไค – สแควร์ การศึกษาพบว่า (1) ผู้ซื้อแว่นตาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 24-50 ปี การศึกษาระดับ ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท และมีรายได้ 10,001-15,000 บาท (2) ใช้แว่นตาประเภทแว่นสายตา (สั้น/ยาว/เอียง) สาเหตุที่ซื้อคือ มีปัญหาทางด้านสายตา โดยซื้อที่ร้านแว่นตา ทั่วไป มูลค่าที่ซื้อไม่เกิน 1,000 บาทซื้อเมื่อมี การส่งเสริมการขายคือการให้ส่วนลดราคา และการแถมสิ่งของ ต่างๆ (3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสำคัญต่อพฤติกรรมการซื้อแว่นตาของผู้บริโภค ทุกปัจจัยอยู่ ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.45 โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญในด้านการส่งเสริมการตลาดที่ ไม่เกี่ยวข้องกับทางการเงินเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับคือ เจ้าหน้าที่/พนักงานขายมีความรู้ เหมาะสมกับงาน (X = 4.66) รองลงมาคือ ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่/พนักงานร้านค้า (X = 4.65) และ การตอบข้อซักถาม/รับฟังปัญหา (X = 4.65) (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับ พฤติกรรมการซื้อแว่นตา ในภาพรวม พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การซื้อแว่นตาของผู้บริโภคเป็นรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อแว่นตาของผู้บริโภคพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการซื้อแว่นตา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ระดับ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อแว่นตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6695
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128394.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons