Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6697
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorบุษกรณ์ คงประดิษฐ์, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-23T06:46:57Z-
dc.date.available2023-06-23T06:46:57Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6697-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อ การส่งออกในจังหวัดสงขลา (2) เปรียบเทียบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อ การส่งออกในจังหวัดสงขลา จำแนกตามลักษณะของบริษัท (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของ อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัดสงขลา (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของ อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อ การส่งออกในจังหวัดสงขลา จำนวน 192 บริษัท กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 130 บริษัท ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว และการทดสอบผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัด สงขลาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านแรงงานสัมพันธ์อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านการจ่ายค่าตอบแทน ด้านการคัดเลือก ด้านความ ปลอดภัยและสุขภาพ ด้านการฝึกอบรม และด้านการสรรหา ตามลำดับ (2) บริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก ในจังหวัดสงขลาที่มีเงินทุนจดทะเบียนบริษัทแตกต่างกันมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่แตกต่างกัน ส่วนบริษัทที่มี จำนวนพนักงาน ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจและประเภทสินค้าที่ส่งออกแตกต่างกัน มีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ แตกต่างกัน โดยบริษัทที่มีจำนวนพนักงาน 500 คนขึ้นไปมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการคัดเลือกและด้านความ ปลอดภัยและสุขภาพมากกว่าบริษัทที่มีจำนวนพนักงาน 100 – 499 คน ส่วนบริษัทที่มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ มากกว่า 20 ปีมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการคัดเลือกมากกว่าบริษัทที่มีอายุน้อยกว่า ขณะที่บริษัทที่มีอายุมากกว่า 10 ปีมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านความปลอดภัยและสุขภาพมากกว่าบริษัทที่มีอายุ 5-10 ปี และบริษัทที่มีประเภทสินค้า ที่ส่งออกคืออาหารและเครื่องดื่ม มีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสรรหา ด้านการ คัดเลือก และด้านการฝึกอบรมน้อยกว่าบริษัทที่ส่งออกไม้ และยางและพลาสติก แต่มีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้าน ความปลอดภัยและสุขภาพมากกว่าบริษัทที่ส่งออกยานยนต์และรถพ่วง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัญหา อุปสรรคที่สำคัญคือ ด้านการสรรหาซึ่งสรรหาได้ยากขึ้นเนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ทำให้การแข่งขัน สูงขึ้นและเกิดการขาดแคลนแรงงาน (4) แนวทางการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์คือ การเพิ่มสวัสดิการเพื่อสร้าง แรงจูงใจให้แก่พนักงาน อาทิ รถรับส่งพนักงาน ชุดทำงาน บ้านพักพนักงาน เบี้ยขยันในการทำงาน หรือทางภาครัฐช่วยใน การกำหนดนโยบายด้านสิทธิประกันสังคมของพนักงานให้ครอบคลุมมากขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2011.177en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectทรัพยากรมนุษย์ -- การจัดการth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมการส่งออกth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมการผลิตth_TH
dc.subjectการส่งออก -- ไทยth_TH
dc.titleการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัดสงขลาth_TH
dc.title.alternativeHuman resource management of manufacturing industry for export in Songkhla provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to study level of human resource management of manufacturing industry for export in Songkhla province, (2) to compare human resource management of manufacturing industry for export in Songkhla province , (3) to study human resource management problems of manufacturing industry for export in Songkhla province, (4) to propose development methods of human resource management of manufacturing industry for export in Songkhla province. This research was the survey research. The population were 192 companies in manufacturing industry for export in Sonkghla province. The sample group consisted of 130 companies from stratified random sampling. The executives who were responsible for human resource management were data givers. The research tool was questionnaire and the statistical tools were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA and least significant difference test. The research findings showed that : (1) the human resource management of manufacturing industry for export in Songkhla province was at the high level. When considering each category, labor relations was at the highest level followed by performance appraisal, human resource planning, remuneration, selection, safety and health, training and recruitment respectively. (2) The companies in manufacturing industry for export in Songhkla province with different registered fund had similar human resource management. The companies with different amount of employees, length of business operation and kinds of product for export had different human resource management. The companies with more than 500 employees had more management of human resource for selection and safety and health than the companies with 100-499 employees. The companies with more than 20 years of operating period had human resource management on selection more than the company with fewer years of operating period; whereas the companies aged more than 10 years had human resource management on safety and health more than the companies aged 5-10 years. The companies exporting food and beverage products had human resource management on human resource planning, recruitment, selection and training less than the companies exporting woods, rubber and plastic but the human resource management on safety and health was more than the companies exporting auto tires and trailers by the statistically significance at 0.05 level. (3) The main problem was selection because it was difficult to recruit as there were a lot of factories which resulted in high competition and lack of labors. (4) The development of human resource management were increased additional benefits to employees as incentives and the government policy should expand the Social Security of employees to be more comprehensiveen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128396.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons