กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6697
ชื่อเรื่อง: | การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Human resource management of manufacturing industry for export in Songkhla province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม บุษกรณ์ คงประดิษฐ์, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศรีธนา บุญญเศรษฐ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ ทรัพยากรมนุษย์--การจัดการ อุตสาหกรรมการส่งออก อุตสาหกรรมการผลิต การส่งออก--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัดสงขลา (2) เปรียบเทียบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัดสงขลา จำแนกตามลักษณะของบริษัท (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัดสงขลา (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัดสงขลา จำนวน 192 บริษัท กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 130 บริษัทซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีการวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว และการทดสอบผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัด สงขลาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านแรงงานสัมพันธ์อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านการจ่ายค่าตอบแทน ด้านการคัดเลือก ด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ด้านการฝึกอบรม และด้านการสรรหา ตามลำดับ (2) บริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกในจังหวัดสงขลาที่มีเงินทุนจดทะเบียนบริษัทแตกต่างกันมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่แตกต่างกัน ส่วนบริษัทที่มีจำนวนพนักงาน ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจและประเภทสินค้าที่ส่งออกแตกต่างกัน มีการจัดการทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกัน โดยบริษัทที่มีจำนวนพนักงาน 500 คนขึ้นไปมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการคัดเลือกและด้านความปลอดภัยและสุขภาพมากกว่าบริษัทที่มีจำนวนพนักงาน 100 – 499 คน ส่วนบริษัทที่มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจมากกว่า 20 ปีมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการคัดเลือกมากกว่าบริษัทที่มีอายุน้อยกว่า ขณะที่บริษัทที่มีอายุมากกว่า 10 ปีมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านความปลอดภัยและสุขภาพมากกว่าบริษัทที่มีอายุ 5-10 ปี และบริษัทที่มีประเภทสินค้าที่ส่งออกคืออาหารและเครื่องดื่ม มีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสรรหา ด้านการคัดเลือก และด้านการฝึกอบรมน้อยกว่าบริษัทที่ส่งออกไม้ และยางและพลาสติก แต่มีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านความปลอดภัยและสุขภาพมากกว่าบริษัทที่ส่งออกยานยนต์และรถพ่วง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคือ ด้านการสรรหาซึ่งสรรหาได้ยากขึ้นเนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ทำให้การแข่งขันสูงขึ้นและเกิดการขาดแคลนแรงงาน (4) แนวทางการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์คือ การเพิ่มสวัสดิการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงาน อาทิ รถรับส่งพนักงาน ชุดทำงาน บ้านพักพนักงาน เบี้ยขยันในการทำงาน หรือทางภาครัฐช่วยในการกำหนดนโยบายด้านสิทธิประกันสังคมของพนักงานให้ครอบคลุมมากขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6697 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
128396.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License