Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6704
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีธนา บุญญเศรษฐ์th_TH
dc.contributor.authorเอมอร ผิวเหลือง, 2525-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-26T01:47:43Z-
dc.date.available2023-06-26T01:47:43Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6704en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุกลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยลักษณะงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ (4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สังกัดหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แบ่งประชากรเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกเป็นบุคลากรทั่วไป จำนวน 2.405 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างสองขั้นตอนคือแบบแบ่งชั้นและแบบระบบ เพื่อให้ได้บุคลากรกระจายไปตามหน่วยงานได้ตัวอย่างบุคลากรทั่วไปจำนวน 343 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ส่วนกลุ่มที่สองเป็นผู้บริหาร จำนวน 46 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรมากที่สุด ได้ตัวอย่าง ผู้บริหารทุกระดับ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า(1) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยรวม อยู่ ในระดับสูง เมือื่พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านส่วนตัวอยู่ในระดับสูง รองลงมาคือด้านการทำงาน ด้านสังคม และ อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ (2) บุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มี เพศ ลักษณะสาย งาน อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงานในมหาวิทยาลัย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประเภทของ บุคลากร และหน่วยงานที่สังกัดแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยลักษณะงานที่ส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้แก่ ด้านการมีโอกาสได้รับรู้ผลการทำงาน ด้านความมีอิสระในการทำงาน และด้านความสำคัญของงาน โดยร่วมกันทำนายการส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ได้ร้อยละ 45 และ (4) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธราช ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจควรมีการปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับค่าครองชีพและยุติธรรม โดยเฉพาะถูกจ้างเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ด้านสังคมควรสนับสนุนให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ด้านการทำงานควรมีระบบความก้าวหน้าที่ชัดเจนของ บุคลากร และด้านส่วนตัวควรส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยลักษณะงาน ควรมีการแจ้งผลการทำงานเป็นระยะ ๆ ควรกระจายอำนาจ และส่งเสริมคววมสำเร็จในการทำงานของบุคลากรth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2011.157en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--ข้าราชการและพนักงาน--ความพอใจในการทำงานth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงานth_TH
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting quality of working life of personnel in Sukhothai Thammathirat Open Universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2011.157-
dc.identifier.urlhttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2011.157en_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed ะ (1) to study the quality of working life (QWL) of the personnel in Sukhothai Thammathirat open University (STOU); (2) to compare QWL of the STOU personnel by personal factors; (3) to study work characteristic factors affecting QWL of the STOU personnel; and (4) to study the guideline to develop QWL of the STOU personnel. This research was a survey research. The population was the STOU personnel under of both central and local departments in the University. The population was divided into Iwo groups. The first group was 2.405 general personnel and 343 of them were randomized by stratified and systematic random sampling in order to cover all department personnel. A questionnaire was used as the research tool in this group. The second group was 46 administrators al all levels and 9 of them were selected by purposive sampling in order to get the administrators dealing with most of the first group. An interviewing form was used as the research tool. Data analysis included percentage, mean, standard deviation, multiple regression analysis, t-test, and one-way analysis of variance. The results showed that: (1) overall QWL of the STOU personnel was at the high level. Considering by aspect, it was found that the private life aspect was at the high followed by work, social, and economic aspects were al the moderate level, respectively; (2) the STOU personnel with different sex. work characteristics, age. marital status, level of education, years of working al the University, average monthly income, personnel categories, and affiliated departments had no different QWL; (3) work characteristic factors affecting QWL of the STOU personnel consisted of aspects of knowing of their own evaluated performance, work freedom and importance of their work. These factors predicted QWL of 45%; and (4) the guideline to develop QWL of the STOU personnel comprised: Economic Aspect salary and compensation for living expenses should be appropriately adjusted to meet the current cost of living and fairness, particulary, University-revenue employees; Social Aspect contribution for good relationship with the external institutes among the STOU personnel should more be supported; Work Aspect career path system of the STOU personnel should be clearer; Private Life Aspect good physical and mental health of the STOU personnel should be encouraged continuously; and Work Characteristic Aspect their own evaluated performance should be regularly informed, power should be decentralized, and work achievement of the STOU personnel should be promoted.en_US
dc.contributor.coadvisorสุนิสา จุ้ยม่วงศรีth_TH
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128849.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons