กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6704
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting quality of working life of personnel in Sukhothai Thammathirat Open University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์
เอมอร ผิวเหลือง, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุนิสา จุ้ยม่วงศรี
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--ข้าราชการและพนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
คุณภาพชีวิตการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุกลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยลักษณะงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ (4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สังกัดหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แบ่งประชากรเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกเป็นบุคลากรทั่วไป จำนวน 2.405 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างสองขั้นตอนคือแบบแบ่งชั้นและแบบระบบ เพื่อให้ได้บุคลากรกระจายไปตามหน่วยงานได้ตัวอย่างบุคลากรทั่วไปจำนวน 343 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ส่วนกลุ่มที่สองเป็นผู้บริหาร จำนวน 46 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรมากที่สุด ได้ตัวอย่าง ผู้บริหารทุกระดับ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า(1) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยรวม อยู่ ในระดับสูง เมือื่พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านส่วนตัวอยู่ในระดับสูง รองลงมาคือด้านการทำงาน ด้านสังคม และ อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ (2) บุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มี เพศ ลักษณะสาย งาน อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงานในมหาวิทยาลัย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประเภทของ บุคลากร และหน่วยงานที่สังกัดแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยลักษณะงานที่ส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้แก่ ด้านการมีโอกาสได้รับรู้ผลการทำงาน ด้านความมีอิสระในการทำงาน และด้านความสำคัญของงาน โดยร่วมกันทำนายการส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ได้ร้อยละ 45 และ (4) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธราช ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจควรมีการปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับค่าครองชีพและยุติธรรม โดยเฉพาะถูกจ้างเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ด้านสังคมควรสนับสนุนให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ด้านการทำงานควรมีระบบความก้าวหน้าที่ชัดเจนของ บุคลากร และด้านส่วนตัวควรส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยลักษณะงาน ควรมีการแจ้งผลการทำงานเป็นระยะ ๆ ควรกระจายอำนาจ และส่งเสริมคววมสำเร็จในการทำงานของบุคลากร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6704
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128849.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons