Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6710
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
Other Titles: | Factors affecting continuous quality improvement implementation in public hospitals under office of permanent secretary of Ministry of Public Health |
Authors: | จินตนา ธนวิบูลย์ชัย วัฒน์ชัย จรูญวรรธนะ, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาล--การบริหาร โรงพยาบาล--การรับรองคุณภาพ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องใน โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2) ระดับปัจจัยการบริหารจัดการองค์กรในโรงพยาบาล (3) ปัจจัย ที่มีผลต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งสิ้น 829 คน โดยมีขนาดของกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 292 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดให้เลือกตอบ และแบบสอบถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) การดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลศูนย์อยู่ใน ระดับมาก ในขณะที่โรงพยาบาลอื่น ดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยการบริหารจัดการองค์กรของ โรงพยาบาลในภาพรวมและทุกประเภท ดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการพัฒนา คุณภาพอย่างต่อเนื่องในภาพรวม ได้แก่ ปัจจัยการบริหารจัดการองค์กร ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร และ ด้านการควบคุม โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องได้ ร้อยละ 41.6 ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาแยกประเภทโรงพยาบาล พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่าง ต่อเนื่องในโรงพยาบาลศูนย์และทั่วไป ได้แก่ ปัจจัย การบริหารจัดการองค์กร ด้านการวางแผน และ ด้านการนำ องค์กร โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องได้ ร้อยละ 46.8 ที่มีนัยสำคัยทางสถิติ ที่ระดับ .05 และปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ ปัจจัย การบริหารจัดการองค์กร ด้านการจัดองค์กร และด้านการควบคุม โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การดำเนินการพัฒนา คุณภาพอย่างต่อเนื่องได้ ร้อยละ 41.0 ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดการดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1) ควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมากขึ้น 2)ควรมีการสำรวจความต้องการ โดยเฉพาะ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) ควรมีการทบทวนผลการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะร่วมกับสายงาน/วิชาชีพ 4) ควรส่งเสริมให้เกิดการทบทวนผลการปฎิบัติงานโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์และนำผลการทบทวนเหล่านั้นมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6710 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
128961.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License