กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6711
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดสรรงบประมาณตามสิทธิการรักษากับสภาพคล่องทางการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of relation between budget allocation on patient payment schemes and liquidity in hospitals under the Office of Permanent Secretary Ministry of Public Health
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
กวิน ก้านแก้ว
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาล--การบริหาร
โรงพยาบาล--ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อวิเคราะห์ (1) การจัดสรรงบประมาณตามสิทธิการ รักษาของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2) สัดส่วนของผู้รับบริการ ตามสิทธิการรักษาของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (3) สภาพคล่อง ทางการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (4) ความสัมพันธ์ ระหว่างการจัดสรรงบประมาณตามสิทธิการรักษากับสภาพคล่องทางการเงินของโรงพยาบาลใน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 270 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานการให้บริการ และ รายงานการเงินระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง (0110 รง 5) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2550 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย การ วิเคราะห์อัตราส่วน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) งบประมาณค่ารักษาพยาบาลส่วนใหญ่ได้รับจัดสรรจากระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่ากับ 72,036.908.17 บาท คิดเป็นร้อยละ 59.88 (2) สัดส่วนของ ผู้รับบริการตามสิทธิการรักษาส่วนใหญ่มาจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คิดเป็นร้อยละ 69.00 (3) การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินในส่วนจากอัตราส่วนเงิบทุนหมุนเวียนมีค่าเท่ากับ 2.5487 และจากอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนอย่างเร็วมีค่าเท่ากับ 2.3579 (4) สัดส่วนของผู้รับบริการ ที่ใช้สิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และระบบประกันสังคมมีความสัมพันธ์ผูกผันกับ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน และอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนอย่างเร็ว สัดส่วนของผู้รับบริการที่ใช้ สิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีผลต่อสภาพคล่องทางการเงินมากกว่าระบบ ประกันสังคม ส่วนระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วน เงินทุนหมุนเวียน และอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนอย่างเร็ว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6711
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112138.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons