Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6712
Title: วิธีการวิเคราะห์สินเชื่อของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักธุรกิจพลับพลาไชย
Other Titles: Credit analysis method of Bangkok Bank Public Company Limited business center Plubplachai
Authors: ลัดดา วัจนะสาริกากุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรัสพร เขมาวุฒานนท์, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารกรุงเทพ
สินเชื่อ
การศึกษาอิสระ -- บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้จัดทำขึ้น เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการวิเคราะห์สินเชื่อ ของ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักธุรกิจพลับพลาไชย 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคใน การพิจารณาสินเชื่อ ของ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักธุรกิจพลับพลาไชย วิธีดำเนินการศึกษาทำโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ของกลุ่มลูกค้าประเภทธุรกิจ และกลุ่มลูกค้าประเภทบุคคลของ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักธุรกิจพลับพลาไชย ที่ ได้รับอนุมัติสินเชื่อในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนกรกฎาคม 2554 ถึง เดือนธันวาคม 2554 แบ่งเป็น ลูกค้าสินเชื่อขนาดใหญ่ จำนวน 30 ราย ลูกค้าสินเชื่อขนาดกลาง จำนวน 40 ราย ลูกค้าสินเชื่อขนาด จำนวน 40 ราย และลูกค้าสินเชื่อเพื่อการอุปโภคและบริโภค จำนวน 40 ราย ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิดังกล่าว 1) ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 ธนาคาร มี รูปแบบการให้สินเชื่อในลักษณะการวิเคราะห์สินเชื่อโดยรวม ทำให้ไม่สามารถแยกปัจจัยเสี่ยงของ ลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ เกิดปัญหาหนี้ NPLs เป็นจำนวนสูง ต่อมาธนาคารได้ทำการพัฒนาและปรับปรุง วิธีการพิจารณาสินเชื่อ ทั้งในส่วนของการวางแผนสินเชื่อ การพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อ และการ ติดตามดูแลสินเชื่อ ทำให้คุณภาพสินเชื่อของธนาคารดีขึ้น อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงอย่าง มาก ฐานะทางการเงินและผลประกอบการของธนาคารดีขึ้นเป็นลำดับ 2) ปัญหาและอุปสรรคใน การพิจารณาสินเชื่อเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ ข้อกำหนดของ ธปท. ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล การวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลกับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน อัตราส่วนทางการเงินของแต่ละ ธุรกิจที่ไม่เท่ากัน รวมถึงอุปนิสัยของผู้บริหารที่ต่างกัน ดังนั้น เจ้าหน้าที่อำนวยสินเชื่อควรต้อง ปฏิบัติตนเสมือนเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของลูกค้า เพื่อให้เป็นที่ไว้วางใจ ทำให้ลูกค้าเปิดเผย ข้อมูลอย่างเป็นจริง และจำเป็นต่อการพิจารณาและวิเคราะห์สินเชื่อ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6712
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
129162.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons