กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/671
ชื่อเรื่อง: การวัดงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Work measurement in the outpatient dispensing service at government hospitals Kalasin Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เยาวภา ปิ่นทุพันธ์
จิตรกร สุ่มมาตย์, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ขวัญชัย วิศิษฐานนท์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) จำนวนครั้งในการวัดงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก (2) ปริมาณการปฏิบัติงาน (3) สัดส่วนการปฏิบัติงานต่อวัน และ (4) สัดส่วนการทำกิจกรรม ณ ช่วงเวลาต่าง ๆ ในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า โดยทำการศึกษาเภสัชกร เจ้าพนักงานเภสัช กรรม และบุคลากรผู้ช่วยอี่นๆ ทุกคนที่ปฏิบัติงานให้บริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดกาฬสินธุ์ เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบบันทึกการวัดงาน เก็บข้อมูลดำเนินการช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2551 ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละและสัดส่วน และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) จำนวนครั้งในการวัดงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกในแต่ละโรงพยาบาลเท่ากับ 384 ครั้ง (2) ปริมาณการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่างๆ ต่อหนึ่งวันเวลาทำการในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วย นอกของทุกตำแหน่งงานเทียบกับจำนวนครั้งของการวัดงานทั้งหมด ได้แก่ รับใบสั่งยาและติดบัตรคิว 2 ครั้ง (ร้อยละ 2.43) พิมพ์ใบสั่งยาและสติ๊กเกอร์ยา 4 ครั้ง (ร้อยละ 3.95) จัดการฉลากยาให้ตรงกับใบสั่งยา 1 ครั้ง (ร้อยละ 1.30) จัดยาและติดฉลากยา 19 ครั้ง (ร้อยละ19.66) ตรวจสอบความถูกต้องของยาที่จัด 7 ครั้ง (ร้อยละ 6.93) เรียกชื่อ ผู้ป่วยและให้คำแนะนำ 6 ครั้ง (ร้อยละ 6.70) ให้คำแนะนำยาแก่แพทย์/ผู้ป่วย 1 ครั้ง (ร้อยละ 1.09) เป็นที่ปรึกษาให้แก่เจ้าหน้าที่ห้องยา 0 ครั้ง (ร้อยละ 0) แบ่งบรรจุ/ตรวจสอบ/เบิกและจัดเรียงยา 6 ครั้ง (ร้อยละ 5.78) งานวิชาการ/บริหาร/คุณภาพ 18 ครั้ง (ร้อยละ 18.89) พัก 12 ครั้ง (ร้อยละ 12.21) ว่างงานและภารกิจส่วนตัว 4 ครั้ง (ร้อยละ 4.13) และการไม่อยู่ในสถานปฏิบัติงาน 16 ครั้ง (ร้อยละ 16.40) (3) สัดส่วนการปฏิบัติงานในกิจกรรมบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โดยตรงกิจกรรมสนับสนุนการจ่ายยาผู้ป่วยนอก และกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลงานของทุกตำแหน่งงานในทุกโรงพยาบาล เป็นร้อยละ 43.24, 25.74 และ 31.01 ตามลำดับ และ (4) สัดส่วนการทำกิจกรรมจ่ายยาผู้ป่วยนอกโดยตรง สูงสุดในช่วงเวลา 10.00-12.00 น. กิจกรรมสนับสนุนการจ่ายยาผู้ป่วยนอกสูงสุดในช่วงเวลา 14.00-16.30 น. และกิจกรรมไม่ก่อให้เกิดผลงานสูงสุด ในช่วงเวลา 12.00-14.00 น.ร้อยละ .60.98, 38.22 และ 56.56 ตามลำดับ ข้อสรุปของงานวิจัยบอกถึงความเหมาะสมของปริมาณการปฏิบัติงานในกิจกรรมที่สัมพันธ์กับตำแหน่งงาน และความจำเป็นต้องทำกิจกรรมสนับสนุนการจ่ายยาผู้ป่วยนอกให้มากขึ้นในช่วงบ่ายเพื่อทดแทนกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/671
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108830.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons