Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6720
Title: | การจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัด |
Other Titles: | Electronic procurement system of Provincial Centre of Tourism Sports and Recreation |
Authors: | กฤษฎา ประศาสน์วุฒิ จริยา ถานัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปภาวดี มนตรีวัติ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัด (2) ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดและผู้ขายหลักเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัด (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและเจ้าหนัาที่พัสดุของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัด (4) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหาร เจ้าหนัาที่พัสดุที่ปฏิบัติหนัาที่อยู่ในสังกัดศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการจังหวัด และผู้ขายหลักของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัด รวม 300 คน เครื่องมือได้แก่แบบสอบถามจำนวน 2 ชุด สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์วิธีตกลงราคา ประกอบด้วย กิจกรรม 9 ขั้นตอน วิธีสอบราคา 10 ขั้นตอน และวิธีประกวดราคา 17 ขั้นตอน (2) ความคิดเห็นของผู้บริหารและเจ้าหนัาที่พัสดุเกี่ยวกับการจัดซื้อจัคจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านบุคลากร ส่วนผู้ขายหลัก มีความคิดเห็น ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านวัสคดุอุปกรณ์ (3) ความคิดเห็นของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดไม่มีความแตกต่างกัน (4) ข้อเสนอแนะได้แก่ 1) ด้านบุคลากร หน่วยงานควรเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงานได้กับบุคลากรในสังกัด ควรมีการจัดอบรมได้ความรู้กับบุคลากรเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 2) ด้านงบประมาณ ควรมีการสนับสนุนงบประมาณในการจัดการอบรมสัมมนาเพื่อเพื่มความรู้ความเข้าใจด้านการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอเล็กทรอนิกส์ได้มากขึ้น สำนักงานส่วนกลางควรจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานส่วนภูมิภาคตั้งแต่เนินๆ 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ ควรมีการจัดทำคู่มืออย่างละเอียคเพื่อประกอบความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ควรจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศรวมทั่งโปรแกรมที่ได้มาตรฐาน ควรมีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการสืบค้นและการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4) ด้านการจัดการ ควรมีการวางแผนในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่เนิน ๆ ควรดำเนินการจัดซื้อจัคจ้างได้เป็นไปตามกำหนดและต้องมีการตรวจสอบเอกสารการเงินอย่างสม่ำเสมอ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6720 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
112144.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License