กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6726
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงปฏิบัติการการผลิตของผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Operation improvement of Thai Auto Parts Suppliers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มงคล สว่างอารมณ์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
รถยนต์ -- ชิ้นส่วน -- การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะข้อมูลทั่วไปขององค์กรผู้ผลิต ชิ้นส่วนรถยนต์ไทย 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของการปรับปรุงปฎิบัติการการผลิต จำแนกตาม ลักษณะข้อมูลทั่วไปขององค์กร 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ การปรับปรุงปฏิบัติการการผลิต ต่อองค์กรผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไทย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ สมาชิกสมาคม ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไทย จำนวน 263 บริษัท โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการคำนวณตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) จำนวน 159 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบ ตรวจสอบรายการ (Checklist) สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One-Way ANOVA) และ การเปรียบเทียบเชิงซ้อน ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะข้อมูลทั่วไปขององค์กร มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 101 - 300 ล้านบาท จำนวน 26 องค์กร (ร้อยละ 16.35) ผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติผสม จำนวน 72 องค์กร (ร้อยละ 45.28) และอายุการจัดตั้งองค์กรตั้งแต่ 21 – 50 ปี จำนวน 66 องค์กร (ร้อยละ 41.51) สัดส่วน การตลาดเป็นแบบผสม ส่งออกและภายในประเทศ จำนวน 83 องค์กร (ร้อยละ 52.20) ประเภท ธุรกิจเป็น ตัวถัง โครงสร้าง จำนวน 23 องค์กร (ร้อยละ 14.46) และระบบคุณภาพองค์กรเป็นระบบ ISO9001 จำนวน 72 องค์กร 2) การปรับปรุงปฏิบัติการการผลิต จำแนกตามลักษณะข้อมูลทั่วไป ขององค์กรพบว่า ทุนจดทะเบียน สัดส่วนผู้ถือหุ้น อายุการจัดตั้งองค์กร สัดส่วนการตลาด ประเภทธุรกิจ และระบบคุณภาพ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) พบปัญหา คือพนักงานขององค์กรไม่สามารถซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้ต้องใช้บริษัทเอกชนมา ดำเนินการ และข้อเสนอแนะ คือต้องการให้มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตเพื่อให้มีคุณภาพและ มาตรฐานเดียวกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6726
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130194.pdfเอกสารฉบับเต็ม2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons