Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6728
Title: ความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงกลยุทธ์กับความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ
Other Titles: Relationship of strategic factors and the educational competitiveness of private universities in Benjamitra Academic Network
Authors: เสาวภา มีถาวรกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฉันทพิชญ์ อาริยะโรจน์กุล, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด -- วิทยานิพนธ์
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- การตลาด
การแข่งขันทางการค้า
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสำคัญของปัจจัยเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชน กลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ (2) ความสำคัญของความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัย เอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ (3) เปรียบเทียบการให้ความสำคัญของความสามารถทางการแข่งขันด้าน การศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (4) ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยเชิงกลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตร วิชาการ และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงกลยุทธ์กับความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของ มหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือบุคลากรของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ ซึ่งมี จำนวนทั้งสิ้น 912 คน กำหนดขนาดตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ การ ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ โดยรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ คือ ด้านกลยุทธ์ ด้านทักษะ ด้านรูปแบบการบริหารงาน ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านค่านิยมร่วม ด้าน ระบบ และด้านบุคลากร (2) ความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่าย เบญจมิตรวิชาการโดยรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสำคัญอยู่ใน ระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ คือ ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า (นักศึกษา) มากที่สุด รองลงมาคือด้าน คุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ และ ด้านนวัตกรรม (3) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ แตกต่าง กันให้ความสำคัญต่อความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาแตกต่างกัน (4) ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับ ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ในการจัดการศึกษา พบว่า อายุ ตำแหน่งหน้าที่ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเชิงกลยุทธ์ (5) ปัจจัย เชิงกลยุทธ์ในการจัดการศึกษามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความสามารถทางการแข่งขันด้านประสิทธิภาพ ด้านคุณภาพ ด้านนวัตกรรม และด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6728
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130203.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons