Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6729
Title: | การจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก |
Other Titles: | Social welfare of quality of life for the elderly by local government at Bangkrathum Distric Phitsanulok Province |
Authors: | ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์ วิรัลพัชร บางปลากด, , 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมพงศ์ มีสมนัย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ ผู้สูงอายุ--ไทย--พิษณุโลก ผู้สูงอายุ--การสงเคราะห์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น--ไทย--พิษณุโลก คุณภาพชีวิตการทำงาน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหารและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 18 คน และประชากรที่เป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3,309 คน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐา นการทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ทั้งผู้บริหารและพนักงานรวมทั้งผู้สูงอายุทราบตรงกันว่าการจัดสวัสดิการสังคมด้าน คุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ สวัสดิการสังคมด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การทำงานและการมีรายได้ ความมั่นคงทางสังคม บริการทางสังคม และนันทนาการอยู่ในระดับปานกลาง (2) สำหรับผู้บริหารและพนักงานที่มีปัจจัย ส่วนบุคคลต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตไม่ต่างกัน ในส่วนของผู้สูงอายุที่มีอายุ สถานภาพการสมรส จำนวนบุตร อาชีพ การอยู่อาศัยในครอบครัวต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สำหรับผู้สูงอายุที่มีเพศ รายได้ ความสามารถในการอ่านเขียน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน/หมู่บ้าน การรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุไม่ต่างกัน (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียงลำดับตามขนาด ความสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย ได้แก่ปัจจัยด้านการเมือง ด้านมนุษยธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการพัฒนา และด้านสังคมตามลำดับ (4) ผู้บริหารและพนักงานรวมทั้งผู้สูงอายุเห็นตรงกันว่าปัญหาการจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ งบประมาณในการจัดสวัสดิการสังคมด้านคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุมีจำกัดบุคลากรและเจ้าหน้าที่มีจำนวนไม่เพียงพอ ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวควรที่รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอกับการบริการผู้สูงอายุ และให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริการผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของเจ้าหน้าที่นั้นควรใช้มาตรการการทดแทนการทำงานและการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6729 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
130263.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License