กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6734
ชื่อเรื่อง: การจัดการความรู้ในหน่วยงานฝูงบิน 604 กองบิน 6 กองทัพอากาศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Knowledge management in squadron 604 wing 6, Royal Thai Air Force
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปริญญา จันทนา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
การบริหารองค์ความรู้
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การจัดการความรู้ในหน่วยงาน ฝูงบิน 604 กองบิน 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของข้าราชการ (2) ศึกษาวิธีการและเทคนิคที่ เหมาะสมในการจัดการความรู้ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการความรู้ของ ข้าราชการ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ข้าราชการและผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ในฝูงบิน 604 จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบ สัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีค่าเอฟ และค่าวิเคราะห์ ถดถอยแบบพหุคูณ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ (1) ปัจจัยที่ทำให้การจัดการความรู้ของข้าราชการฝูงบิน 604 ประสบความสำเร็จ ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการจัดการความรู้ และวิธีการและเทคนิคในการจัดการความรู้ สภาพแวดล้อมในการจัดการความรู้ ประกอบด้วย บุคลากรที่ใช้ความรู้ ทีมการจัดการความรู้ และ ผู้นำในการจัดการความรู้ สำหรับวิธีการและเทคนิคในการจัดการความรู้ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ กลยุทธ์ คุณค่า ความเชื่อ วัฒนธรรมองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร การสร้างแรงจูงใจ และการให้รางวัลหรือการตอบแทน (2) วิธีการและเทคนิค ที่เหมาะสมในการจัดการความรู้ของข้าราชการฝูงบิน 604 ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย การกำหนดสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้และเทคนิคในการ เรียนรู้ และวิธีการสร้างความรู้ (3) ปัญหาในการจัดการความรู้ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านองค์ประกอบ ของการจัดการ ความรู้ 2) ปัญหาด้านวิธีการและเทคนิคในการจัดการความรู้ และ 3) ปัญหาด้านความสำเร็จในการ จัดการความรู้ สำหรับข้อเสนอแนะในการจัดการความรู้ ได้แก่ การที่องค์กรต้องจัดกิจกรรมที่ กระตุ้นและให้โอกาสบุคลากรในการคิดและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นองค์กร ต้องมีการแปลงความรู้ไปสู่การปฏิบัติโดยองค์กรต้องส่งเสริมให้บุคลากรนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้และความสัมพันธ์ของความคิดกับการกระทำ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6734
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112146.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons