Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6736
Title: ความเครียดของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี
Other Titles: The stress among inmates of Minburi Remand Prison
Authors: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิรมย์ ศรีจันเทพ, 2526- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความเครียด (จิตวิทยา)
นักโทษ--สุขภาพจิต
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเครียดของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี 2) เปรียบเทียบปัจจัยสาเหตุความเครียดของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี และ 3) เสนอแนะแนวทางในการจัดการความเครียดให้ผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยวิธีการสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรีคดีอยู่ระหว่างพิจารณาจำนวน 441 คน โดยกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาด้วยสูตรทาโร่ยามาเน่ได้จำนวน 209 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบประเมิน ความเครียด และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยสาเหตุความเครียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละความถี่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยการ ทดสอบ ค่าที การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ และแอลเอสดีโดยกำหนดค่านัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความเครียดผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรีส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย 2) เปรียบเทียบปัจจัยสาเหตุความเครียดของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี โดยจำแนกตาม ข้อมูลส่วนบุคคล เพศ สถานภาพ และเงินที่รับจากญาติเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างกันมีระดับความเครียด แตกต่างกัน และ อายุ การศึกษา อาชีพก่อนต้องโทษ ประเภทคดี ระยะเวลาที่อยู่ในเรือนจำต่างกันมีระดับความเครียดไม่แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยสาเหตุความเครียดด้าน สภาพแวดล้อมภายในเรือนจำภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยด้าน โรคภัยไข้เจ็บอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านสวัสดิการผู้ต้องขังภายในเรือนจำ ด้านความแออัดของผู้ต้องขังด้านกฎระเบียบภายในเรือนจำและด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องขังอื่น 3) ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาทางเรือนจำควรจัดให้มีโครงการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวในขณะอยู่ในเรือนจำแก่ผู้ต้องขังเข้าใหม่ เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถปรับตัวและได้ทราบวิธีการดำเนินชีวิตในเรือนจำ ควรจัดทำแผนกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตตลอดปี โดยเน้นให้เหมาะสมกับลักษณะกลุ่มของ ผู้ต้องขัง เพื่อผ่อนคลายความเครียด และควรเพิ่มกิจกรรมกลุ่ม เช่น กีฬาเป็นทีมเพราะเป็นการส่งเสริม การใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม การรู้จักระเบียบ มนุษย์สัมพันธ์ ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6736
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_164438.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons