กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6741
ชื่อเรื่อง: การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารและบริการของเรือนจำพิเศษธนบุรีและทัณฑสถานหญิงธนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Implementation of good governance principles in the Administration and Serveces of Thonburi Remand Prison and Thonburi Women Correctional Institution
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นราธิป ศรีราม
อรวรรณ ทิพาสุทธิ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปภาวดี มนตรีวัต
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
เรือนจำพิเศษธนบุรี--การบริหาร
ทัณฑสถานหญิงธนบุรี--การบริหาร
ธรรมรัฐ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษธนบุรี และ ทัณฑสถานหญิงธนบุรีการเกี่ยวกับการบริหารงานของเรือนจำตามหลักธรรมาภิบาล (2) ศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่และผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรีและทัณฑสถานหญิงธนบุรี เกี่ยวกับการบริการของเรือนจำและทัณฑสถานตามหลักธรรมาภิบาล (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่และผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรีและทัณฑสถานหญิงธนบุรี เกี่ยวกับการบริการของเรือนจำและทัณฑสถานตามหลักธรรมาภิบาล (4) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของเรือนจำพิเศษธนบุรีและทัณฑสถานหญิงธนบุรี การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษธนบุรี และทัณฑสถานหญิงธนบุรี และผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษธนบุรีและทัณฑสถานหญิงธนบุรี รวม 555 คน เครื่องมีอทึใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) เจ้าหน้าที่ทั้งสองหน่วยงาน มีความคิดเห็นต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในระดับมาก และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการตามหลักธรรมาภิบาลในระดับมาก (2) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ของทั้งสองหน่วยงานเกี่ยวกับการบริการผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังตามหลักธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมากความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการของผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรี อยู่ในระดับมาก ขณะที่ผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิงธนบุรี มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นพบว่าความคิดเห็นด้านบริการระหว่างเจ้าหน้าที่ทั้งสองแห่งไม่แตกต่างกัน ความคิดเห็นระหว่างผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังทั้งสองแห่งไม่แตกต่างกัน ความคิดเห็นระหว่างเจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษธนบุรี กับผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรี แตกต่างกัน และความคิดเห็นระหว่างเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานหญิงธนบุรี และผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิงธนบุรี แตกต่างกัน ที่นัยสำคัญ 0.05 (4) สำหรับการส่งเสริมการปฏิบติงานตามหลักธรรมาภิบาล ผลการศึกษาพบว่าหลักธรรมาภิบาล 3 หลักที่หน่วยงานควรส่งเสริมก่อนได้แก่ หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส และหลักเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อควรปรับปรุง ได้แก่ ผู้บริหารทั้งสองหน่วยงาน ควรกระจายอำนาจการตัดสินใจลงสู่ระดับล่างให้มากว่าที่เป็นอยู่ ควรสอดส่องพฤติกรรมเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันการรับสินบนจากผู้ต้องขังและญาติ ควรมีการลงโทษทางวินัยอย่างเข้มงวดและจริงจัง หน่วยงานต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับแจ้ง หรือรับข้อมูลการร้องเรียน ควรนำเทคโนโลยีและการสื่อสารรูปแบบต่างๆ มาใช้เพื่อสามารถปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6741
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112155.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons