Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6744
Title: | บทบาทของนักปกครองท้องที่กในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | Role of Village headmen on epidemic prevention of Covid-19 at Chaiya District in Surat Thani Province |
Authors: | จำเนียร ราชแพทยาคม เจนวิทย์ รักษ์แก้ว, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | อาสาสมัครสาธารณสุข โควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุม การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของนักปกครองท้องที่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) วิเคราะห์บทบาทของนักปกครองท้องที่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทของนักปกครองท้องที่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการศึกษาพบว่า (1) บทบาทของนักปกครองท้องที่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยบทบาทตามกฎหมายและบทบาทที่ปฏิบัติจริง คือ ด้านการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และด้านการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2) นักปกครองท้องที่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีบทบาทของผู้นำ ผู้ประสานงาน ผู้ให้ความช่วยเหลือ ผู้ให้ข้อมูลแก่หน่วยงานภาครัฐและประชากร รวมทั้งเป็นผู้ปฏิบัติที่ประสบผลสัมฤทธิ์ดี เป็นที่พึงพอใจ ส่งผลให้ไม่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่อำเภอไชยา และ (3) แนวทางการพัฒนาบทบาทของนักปกครองท้องที่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในอนาคตควรจะต้องมีการจัดทำแผนเชิงรับและเชิงรุกในระยะสั้นระยะยาวด้านโรคระบาด ควรพัฒนาสมรรถนะให้นักปกครองท้องที่ในการด้านความรู้ ทักษะในการใช้อุปกรณ์ ควรเตรียมการเพื่อสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณให้นักปกครองท้องที่สำหรับการปฏิบัติงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6744 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License