Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6746
Title: | ตัวแบบสมรรถนะของตำรวจ 191 : กรณีศึกษากองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล |
Other Titles: | Competency model : a case study of police 191, Special Operation Police Divisoon, Metropolitan Police Bureau |
Authors: | เสน่ห์ จุ้ยโต กฤษณพร ทัพทวี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุรพร เสี้ยนสลาย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ กองบัญชาตำรวจนครบาล. กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สมรรถนะ สมรรถภาพในการทำงาน |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จัดทำสมรรถนะหลักและสมรรถนะในกลุ่มงานของตำรวจ 191 (2) จัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับสมรรถนะหลัก และสมรรถนะในกลุ่มงานของ ตำรวจ 191 และ (3) เสนอตัวแบบการพัฒนาสมรรถนะตำรวจ 191 การศึกษาวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรใน การศึกษา คือ ข้าราชการตำรวจ 191 กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวน 2,327 นาย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 429 นาย จำแนกเป็น ผู้บริหารระดับสูง จำนวน 13 นาย และระดับ ผู้ปฏิบัติงานจำนวน 416 นาย เครื่องมือที่ใช้ไนการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสารและข้อมูลทุติยภูมิ การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) สมรรถนะของตำรวจ 191 ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก 12 ด้าน ได้แก่ อุดมการณ์ในอาชีพตำรวจ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในอำนาจหน้าที่การ ปฏิบัติงานของตำรวจ ความรู้ความสามารถด้านยุทธวิธีตำรวจ จรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ จิตสำนึกความ รับผิดชอบ การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นทีม การมีมนุษยสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสารการประสานงาน ความละเอียดรอบคอบ ความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน และภาวะผู้นำ และมีสมรรถนะในกลุ่มงานต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน จำนวน 9 กลุ่มงาน (2) แผนพัฒนาบุคลากรของตำรวจ 191 ครอบคลุมหลักสูตรการฝึกอบรม ด้านสมรรถนะหลัก จำนวน 6 หลักสูตร และหลักสูตรการอบรมด้านสมรรถนะในกลุ่มงานซึ่งมีความแตกต่างกันในจำนวน 9 กลุ่มงาน (3) ตัวแบบสมรรถนะของตำรวจ 191 ประกอบด้วย 8 ปัจจัยคือ ยุทธศาสตร์การปฏิบัติงานสำรวจสมรรถนะ การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูงแผนพัฒนาบุคลากร การจัดการความรู้ องค์การแห่งการเรียนรู้ การฝึกอบรม และการประเมินสมรรถนะ จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ควรมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สอดคล้องกับสมรรถนะ ควรมีการจัดทำโครงสร้างหน้าที่และแผนอัตรากำลังที่ชัดเจนและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6746 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
112182.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License