Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6751
Title: แนวทางการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านปาเระ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
Other Titles: Guidelines for the operation of student help-care program of Ban Pareh School, Mueang Pattani District, Pattani Province
Authors: สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ซัยดี ยามู, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ความช่วยเหลือทางการศึกษา. | โรงเรียนประถมศึกษา -- ไทย -- ปัตตานี -- การบริหาร
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการทั่วไปของนักเรียนในโรงเรียนบ้านปาเระ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี (2) ศึกษาสภาพการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านปาเระ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี และ (3) เสนอแนะแนวทางการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านปาเระ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้จากการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ทูี้่มีความเกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านปาเระ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ประกอบไปด้วยครูที่ปรึกาาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 คน และผู้บริหารสถานศึกษา รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 7 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเกี่ยวกับการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพนักเรียนในโรงเรียนบ้านปาเระ พบว่านักเรียนมีภาวะ โภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 81.89 และอาศัยร่วมกับบิดา มารดา คิดเป็นร้อยละ 78.74 (2) ในภาพรวมครูที่ปรึกษาแต่ละชั้นได้ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ มีการส่งต่อภายนอกนักเรียนที่มีปัญหาดด้านการเรียนรู้ดัดกรองโดยผุ้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและทำการรักษา (3) ข้อเสนอแนะในการดำเนินการคือโรงเรียนจัดตั้งคณะกรรมการผู้ปกครองชั้นเรียนเพื่อ ประสานความร่วมมือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักเรียนประกอบไปด้วยทุกภาคส่วนใชสื้่อสังคม ออนไลน์เป็นสื่อกลางประสานงาน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงครูด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครู ที่สอนร่วมชั้นแต่ละช้้นเรียนควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ส่งเสริมความถนัดความสนใจของนักเรียน ฝึกทักษะต่างๆ จัดอบรมให้ความรู้ด้านจิตวิทยาเด็กแก่ครูและควรประสานศูนย์การศึกษาพิเศษใน การดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6751
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_162004.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons