กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6770
ชื่อเรื่อง: การบริการงานวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Services of benefit payment judgement for child allowance of Chachoengsao Social Security Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นราธิป ศรีราม
อังคณา ศิริลาภ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปภาวดี มนตรีวัต
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานและผู้ประกันตนเกี่ยวกับการบริหารงานวินิจนัยประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา (2) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานและผู้ประกันตนเกี่ยวกับการบริการของงานวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานและผู้ประกันตนเกี่ยวกับการบริหารและการบริการของงานวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของพนักงานเกี่ยวกับการบริหารงานวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (5) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ประกันตนเกี่ยวกับการบริการของงานวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรากลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพนักงานทั้งหมดที่ปฎิบัติงานด้านการวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร ณ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 44 คน และผู้ประกันตนที่มารับบริการงานวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร ณ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 406 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม 2 จุด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความกี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) ในภาพรวมพนักงานและผู้ประกันตนมีความเห็นในระดับมากเกี่ยวกับการบริหารของงานวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งในด้านงาน เงินคน และวัสดุ โดยความเห็นของพนักงานอยู่ในระดับมากที่สุดด้านงาน ขณะที่ความเห็นของผู้ประกันตนอยู่ในระดับมากที่สุดด้านงานและด้านคน (2) พนักงานและผู้ประกันตนมีความเห็นในระดับมากเกี่ยวกับการบริการของงานวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยความเห็นของพนักงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในประเด็นการให้บริการอย่างเสมอภาคและตรงเวลา ขณะที่ความเห็นของผู้ประกันตนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในประเด็นการให้บริการอย่างเสมอภาค (3) ความคิคเห็นของพนักงานและผู้ประกันตนเกี่ยวกับการบริหารและการบริการวินิจนัยประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ในส่วนของปัญหาด้านการบริหาร พนักงานส่วนใหญ่เห็นว่าคือ ปัญหาด้านคน และเสนอแนะให้พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร เสริมสร้างจิตสำนึกในการบริการ รวมทั้งสร้างขวัญสำลังใจ และ แบ่งภาระงานอย่างเหมาะสม (5) ในส่วนของปัญหาด้านการบริการ ผู้ประกันตนส่วนใหญ่เห็นว่าคือปัญหาด้านสถานที่และเสนอให้ปรับปรุงบริเวณจอดรถ รวมทั้งที่พักรอรีบบริการให้พอเพียง ปรับระดับแสงสว่างให้มากขึ้น และจัดหาสถานที่ทั้งของสำนักงานที่ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6770
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112194.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons